คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540

ปิดความเห็น บน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540

นาย ชำนิ ศรีภิรมย์

     โจทก์

นาย สมพงษ์ อาจวงษ์ กับพวก

     จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา 420, 1437, 1439, 1440, 1457, 1458

          โจทก์ตกลงแต่งานกับจำเลยที่3โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่3มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ดังนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่3และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่1และที่2บิดามารดาของจำเลยที่3เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่3ยอมสมรสตามมาตรา1437โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน การที่จำเลยที่3ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่3เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่3ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457การที่จำเลยที่3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1439และมาตรา1440

________________________________

          โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2538 โจทก์แต่งงานโดยวิธีผูกข้อมือกับจำเลยที่ 3 มีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบิดามารดาจำเลยที่ 3 ยินยอม โจทก์เสียเงินสินสอด 20,000 บาททองหมั้นหนัก 2 บาท ราคา 10,000 บาท โจทก์และจำเลยที่ 3ได้รับทรัพย์รับไหว้จากญาติเป็นเงิน 7,739 บาท เป็นส่วนของโจทก์2,369.50 บาท โจทก์เสียค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสเป็นเงิน 6,600 บาท ครั้นโจทก์ไปบ้านจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1และที่ 2 ขัดขวางไม่ยอมให้ขึ้นบ้านเพื่อหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 3 ทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ยอมเช่นกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์รับความอับอายขอคิดค่าเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นเงิน 20,000 บาท จำเลยทั้งสามต้องคืนสินสอดทองหมั้นและทรัพย์รับไหว้ส่วนของโจทก์กับชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสเป็นเงิน 6,600 บาทโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนเงินสินสอด 20,000 บาท ทองหมั้นหนัก 2 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 10,000 บาท ทรัพย์รับไหว้ 2,369.50 บาท กับชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรส 6,600 บาท ค่าเสียหายต่อชื่อเสียง 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 58,696.50 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

          ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำละเมิดโจทก์รวมทั้งไม่ถือว่ามีการผิดสัญญาหมั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ยกฟ้อง

          โจทก์ อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอให้จำเลยทั้งสามชำระเงินค่าผูกข้อมือจำนวน 2,369.50บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ไว้พิจารณาต่อไป และมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์ ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฎีกาข้อเดียวว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินสินสอด ทองหมั้น และค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามขอให้ศาลฎีกาสั่งรับฟ้องของโจทก์ทั้งหมด ปรากฏว่า โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม2538 โจทก์ได้แต่งงานโดยวิธีผูกข้อมือกับจำเลยที่ 3 โดยเสียสินสอดไป 20,000 บาท ทองหมั้นหนัก 2 บาท คิดเป็นเงิน 20,000 บาทจำเลยที่ 1 และที่ 2 กีดกันไม่ให้โจทก์หลับนอนกับจำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ก็ไม่ยอมหลับนอนกับโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหาย ค่าสินสอดและทองหมั้นให้โจทก์ เห็นว่า โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457ฉะนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่ 3 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บิดามารดาของจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือผิดสัญญาหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439และมาตรา 1440

          พิพากษายืน

( สถิตย์ ไพเราะ – เฉลิมชัย เกษมสันต์ – จุมพล ณ สงขลา )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550

ปิดความเห็น บน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550
ป.พ.พ. มาตรา 828
ป.วิ.พ. มาตรา 42, 60

*****การที่จำเลยที่ 2 แต่งตั้ง พ. ทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่ พ. ทนายจำเลยที่ 2 จะยื่นอุทธรณ์ก็ตาม แต่ พ. ก็ยังคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ได้ อำนาจทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่ พ. จึงมีอำนาจลงนามในฐานะทนายจำเลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ได้ แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 จนถึงบัดนี้เกินกำหนด 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงสมควรให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42*****

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงิน กับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้บัตรเครดิตและฟ้องบังคับจำนองแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดี ขณะคดีอยู่ระหว่างการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ยื่นคำแถลงคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์เป็นกรณีพิเศษ 146,000 บาท จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ต่อมาศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 9 นาฬิกาโดยในวันนัดมีทนายโจทก์มาศาล ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มา ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ซึ่งพิพากษายืนให้โจทก์ฟังโดยถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบผลคำพิพากษาดังกล่าวตามกฎหมายแล้ว ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เพราะการส่งหมายนัดฟังคำสั่งให้แก่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่ชอบเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไปก่อนหน้าแล้ว และที่อยู่ตามหมายนัดที่ส่งให้แก่ทนายจำเลยที่ 2 ผิด

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกอุทธรณ์จำเลยที่ 2

จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ทนายจำเลยที่ 2 มีสิทธิลงชื่อยื่นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 หลังจากที่จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายได้หรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยที่ 2 แต่งตั้งนายพัฒนพงศ์ สุขโกษา ทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่นายพัฒนพงศ์ทนายจำเลยที่ 2 จะยื่นอุทธรณ์ก็ตาม แต่นายพัฒนพงศ์ก็ยังคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ได้ อำนาจทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่นายพัฒนพงศ์จึงมีอำนาจลงนามในฐานะทนายจำเลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุผลที่ทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ฟังขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 จนถึงบัดนี้เกินกำหนด 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงสมควรให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42”

จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกา

นิติกรรม-สัญญา ครั้งที่ ๑

ปิดความเห็น บน นิติกรรม-สัญญา ครั้งที่ ๑

เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล  แน่นอนว่ารัฐไม่สามารถที่จะบัญญัติกฎหมายให้ครอบคลุมถึงกรณี  ที่จะมีการสร้างสิทธิและหน้าที่ของบุคคลให้ครอบคลุมได้ทุกกรณี  ฉะนั้นก็ต้องมีการกำหนดให้มีเครื่องมีอที่จะให้บุคคลสามารถใช้เครื่องมือนั้นในการสร้างสิทธิและหน้าที่จะผูกพันกันด้วยความสมัครใจ ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้

        นิติกรรมเป็นเครื่องมือที่กฎหมายมอบให้บุคคล

คำพิพากษาคดีของนายถวิล เปลี่ยนศรี

ปิดความเห็น บน คำพิพากษาคดีของนายถวิล เปลี่ยนศรี

 

clip_image001

คำพิพากษา

(อุทธรณ์)

(ต. ๒๒)

clip_image003คดีหมายเลขดำที่ อ. ๙๙๒/๒๕๕๖

คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๓๓/๒๕๕๗

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

ศาลปกครองสูงสุด

วันที่ ๒๐ เดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๗เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(อุทธรณ์คำพิพากษา)

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ ๖๓๕/๒๕๕๕ หมายเลขแดงที่ ๘๔๗/๒๕๕๖ ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง)

/สำนักเลขาธิการ…

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า เดิมผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) มีหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะหัวหน้าหน่วยงานของ
สภาความมั่นคงแห่งชาติที่มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติงาน
ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ เรื่อง การโอนข้าราชการ
มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) แจ้งว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีอัตราตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ ว่างอยู่ และมีความประสงค์จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดี
มาดำรงตำแหน่งดังกล่าว เห็นควรให้ความเห็นชอบและยินยอมการรับโอนผู้ฟ้องคดี
และดำเนินการขอทาบทามขอรับความเห็นชอบและยินยอมจากรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ลงนามเห็นชอบในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก
ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) แจ้งว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีความประสงค์จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและยินยอมการรับโอนดังกล่าวแล้ว จึงขอเสนอรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ลงนามเห็นชอบในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งต่อมารัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๒ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้นำเรื่องการโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ และแจ้งด้วยว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องฯ ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระทราบจรในวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ลงนามอนุมัติในวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ต่อมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๕๐๘/๑๘๖๑๔ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔
อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ได้ขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป จากนั้นสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๔๐๒ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔
แจ้งคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือน

/ผู้ฟ้องคดี…

ตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน

/ส่วนนายถวิล…

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ออกก่อนที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาให้ความเห็นชอบในการรับโอน
ผู้ฟ้องคดีตามหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ แสดงว่ามีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ชี้ให้เห็นได้ว่ากระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีมีการเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเร็ว และเพื่อให้เป็นไปตามการสัมภาษณ์และให้ข่าวของรองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง) ในการโอน
พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น มาดำรงตำแหน่งแทนผู้ฟ้องคดีเพื่อให้สามารถแต่งตั้งคนของตนเองในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ มิได้เป็นการพิจารณาอย่างรอบด้านและเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง อีกทั้งเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติราชการ
ในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติมามากกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย
จนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในองค์กร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยมิได้มีข้อบกพร่องและไม่ได้มีความผิดใดๆ แม้กระทั่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็น
ผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น ก็ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนยืนยันดังที่ปรากฏตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ในขณะที่ปรากฏว่าร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้ให้สัมภาษณ์กดดันและต่อรองเพื่อให้พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น ยินยอมในการที่จะโอนไปดำรง
ตำแหน่งอื่นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
เพราะถ้าหากพลตำรวจเอก วิเชียร ไม่ยินยอมในการโอน ย่อมมีผลทำให้ตำแหน่งผู้บัญชาการ
ตำรวจแห่งชาติไม่ว่าง ทำให้ไม่สามารถแต่งตั้งบุคคลที่เป็นเครือญาติกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ จึงมีการกดดันบีบคั้นให้พลตำรวจเอก วิเชียร
ต้องยินยอม เห็นได้จากการให้สัมภาษณ์ของพลตำรวจเอก วิเชียร ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๔ ในลักษณะน้ำตาคลอ โดยยอมรับว่าถูกการเมืองบีบก็ยินดีที่จะไป แต่จะต้องไปอย่างถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไปในตำแหน่งที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีพอสมควร อย่าเพิ่งพูดถึง
ตำแหน่งใด ดูก่อนว่าจะให้ไปดำรงตำแหน่งใด ถ้าเห็นว่าเหมาะสมก็จะสมัครใจไป ถ้าไม่เหมาะสม
ก็ไม่ไป ซึ่งในวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี
ก็ให้สัมภาษณ์ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ว่าพลตำรวจเอก วิเชียร เหมาะสมที่จะไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพราะเป็นผู้มีความสุขุมและเชี่ยวชาญในเรื่องของการวางแผน แต่ไม่เชี่ยวชาญในเรื่องของการปราบปราม ทั้งนี้ ได้พูดคุยกับพลตำรวจเอก วิเชียร ด้วยตัวเองแล้ว ส่วนนายถวิล เปลี่ยนศรี (ผู้ฟ้องคดี) ยังไม่ทราบว่าจะให้นั่งในตำแหน่งใด แต่หากเป็นตนก็จะขอย้ายตัวเอง เพราะที่ผ่านมาทำหน้าที่เป็นเลขาธิการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) รัฐบาลคงไม่ต้องการให้อยู่ และในวันเดียวกัน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อสิ่งพิมพ์
ที่ทำเนียบรัฐบาลว่าการย้ายผู้ฟ้องคดีไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเพราะผู้ฟ้องคดี
เป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ทำงานในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมานั่งทำงานอยู่ในรัฐบาลชุดนี้ ต้องถามกลับไปว่าถ้าผู้ฟ้องคดีทำงานอยู่กับรัฐบาลพรรค
เพื่อไทยแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนตัวหรือไม่ เมื่อถามว่าผู้ฟ้องคดีอ้างว่าต้องทำตามกฎหมาย เพราะเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติถือว่าเป็นเลขาธิการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ตอบว่าการอ้างถึงกฎหมายก็ต้องดูความเหมาะสมด้วย เหตุผลก็คือต้องการ
ให้พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี มาอยู่ในตำแหน่งนี้ เพื่อให้พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และเวลา
๑๕.๒๐ นาฬิกา ที่รัฐสภา ร้อยตำรวจเอก เฉลิม แถลงครั้งที่ ๓ ว่าตามพระราชบัญญัติ
ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๖๒ การจะย้ายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไปดำรงตำแหน่งอื่น ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าตัว ซึ่งล่าสุดพลตำรวจเอก วิเชียร ได้ส่งจดหมายมาว่าสมัครใจ
จะไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทำให้ตนจะเสนอชื่อพลตำรวจเอก วิเชียร
ไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ส่วนผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อาจจะย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำหรือตำแหน่งอื่น ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าพฤติกรรมและการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่มอบหมาย
ให้ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งมิได้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่มีความพยายามเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นการกระทำที่ก้าวก่ายหรือแทรกแซง
เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่น ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมในเรื่องของการแต่งตั้ง โยกย้าย โอนข้าราชการ เพราะการจะโอนผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งยังคงมีผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และขัดต่อหลักคุณธรรม เนื่องจากในการโอนจะต้องคำนึงถึงผลกระทบหรือปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นของทั้งสองหน่วยงานคือ หน่วยงานที่รับโอนและหน่วยงานที่โอน มิใช่โอนโดยมีเหตุผลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของฝ่ายการเมือง

/ลงวันที่ ๗…

เท่านั้น นอกจากนี้ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ สบก.(กบค.) ๒๔๖๖/๒๕๕๔
ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ข้อ ๓.๒ มอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติราชการประจำ
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงของประเทศ
ในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ ความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิชาการและสถาบันการศึกษาให้สอดคล้องกัน
และมีบูรณาการ และเสนอแนะและจัดทำนโยบาย อำนวยการ พัฒนา ประสานการจัดการและติดตามประเมินผลด้านการข่าวกรอง การต่อต้านการข่าวกรอง การรักษา
ความปลอดภัยแห่งชาติ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานโยบายอำนวยการข่าวกรอง การพัฒนาองค์กรข่าวกรองและการต่อต้านการข่าวกรอง รวมทั้งการปฏิบัติราชการด้านอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งขณะผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้วในฐานะเป็นเลขานุการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการบูรณาการแผนงานบริหารราชการแผ่นดิน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งถือว่าเป็นงานส่วนหนึ่งหรือเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยเท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบกับอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ การออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นการลดบทบาทหน้าที่
และศักดิ์ศรีในทางราชการของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีมิได้มีข้อบกพร่องและไม่มีความผิดใดๆ
ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการประจำที่มิได้ทำงานให้กับพรรคการเมืองใด หากใช้เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงว่าทำงานในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน หรือเพราะว่าเป็นเลขาธิการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผลในทางการเมือง
และผลประโยชน์แอบแฝง จะทำให้ข้าราชการเสียขวัญและกำลังใจ ส่วนข้อกล่าวอ้างในคำแก้
คำร้องทุกข์ว่าการย้ายผู้ฟ้องคดีเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายเร่งด่วนเกี่ยวกับ
ความมั่นคงและตามนโยบายความมั่นคงระยะ ๔ ปี ที่แถลงต่อรัฐสภา โดยเห็นว่าผู้ฟ้องคดี
มีคุณสมบัติเป็นเลิศในทุกด้านให้มาช่วยบริหารงานในระดับบนเป็นการยกระดับการทำงาน
จากระดับปฏิบัติการมาสู่การบริหารงานในระดับบน นั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากตั้งแต่
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้โอนผู้ฟ้องคดีไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำจนถึงวันฟ้องคดีเป็นเวลาร่วม ๗ เดือน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มิได้มอบหมายงานหรือ
เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้กระทำการตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เหตุผลในการโอนย้าย
ผู้ฟ้องคดีที่แท้จริงก็คือ ต้องการโอนผู้ฟ้องคดีให้พ้นตำแหน่งและโอนพลตำรวจเอก วิเชียร

/ตำแหน่ง…

พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้นมาดำรงตำแหน่งแทนผู้ฟ้องคดี เพื่อให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่างลง และสามารถแต่งตั้งคนของตนซึ่งเป็นเครือญาติใกล้ชิดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเท่านั้น

/ในฐานะประธาน…

ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ฝ่ายเสียงข้างมากเห็นว่าการที่ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ และนางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ ได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นการกระทำในนามของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย จึงมีผลให้การโยกย้ายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ส่วนที่ ๒ ที่ว่าด้วยการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามมาตรา ๒๖๖ ประกอบมาตรา ๒๖๘ และเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดต่อระบบคุณธรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มิได้เป็นกลางทางการเมืองตามนัยมาตรา ๔๒ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒ ฝ่ายเสียงข้างมาก จึงวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งที่พิพาท
มีผลให้ผู้ฟ้องคดียังคงมีสถานะเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเช่นเดิม แต่กรรมการฝ่ายเสียงข้างน้อย (นายศราวุธ เมนะเศวต) มีความเห็นแย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีอำนาจสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และการโอนได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ได้มอบหมายและมอบอำนาจให้ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทน
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในส่วนของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อีกทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่ชี้ชัดว่ามีข้อตกลงกันเพื่อเปิดช่องให้ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติว่างลง และแม้ว่าหากมีข้อตกลงกันจริงก็อยู่ในวิสัย
ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สามารถดำเนินการได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน
ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ การให้สัมภาษณ์ของร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒ ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาแล้วมีความเห็นเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายเสียงข้างมาก ได้แก่ นายศราวุธ เมนะเศวต นางจรวยพร ธรณินทร์ และนางสาวทัศนีย์ ธรรมสิทธิ์ โดยมีนายศราวุธออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง
ในฐานะประธานที่ประชุมเพื่อชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาคะแนนเสียงเท่ากัน โดยเห็นพ้องด้วยกับความเห็นแย้งของนายศราวุธที่ทำไว้ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒ จึงมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องทุกข์ แต่ฝ่ายเสียงข้างน้อย ประกอบด้วย นายภิรมย์
ศรีจันทร์ นายบุญเลิศ ลิ้มทองกุล และนายภิรมย์ สิมะเสถียร มีความเห็นแย้งว่าคำสั่งของ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔
และประกาศที่เกี่ยวกับผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นควรให้ยกเลิกคำสั่งและประกาศดังกล่าว โดยให้ดำเนินการตามมติ ก.พ. ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๔๖
ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๖ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการกลับคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นการกระทำ
ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากตามกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ อำนาจการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์เป็นของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตั้งขึ้น ตามข้อ ๓๔ และข้อ ๓๕ ของกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังนั้น
เมื่อมีการรายงานให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทราบ หากมีข้อแนะนำหรือข้อควรปรับปรุงก็ให้แก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่มิใช่การพิจารณากลับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ นอกจากนี้ กระบวนการโอนย้ายผู้ฟ้องคดี ฝ่ายการเมือง
ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง กลั่นแกล้ง ลดบทบาทหน้าที่และศักดิ์ศรีในทางราชการของผู้ฟ้องคดี ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหายทั้งในแง่ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะ
ของผู้ฟ้องคดี และเป็นประโยชน์ต่อราชการ เป็นการลดบทบาทและความสำคัญของผู้ฟ้องคดี รวมทั้งทำให้เสียสิทธิในการได้รับค่ารถประจำตำแหน่งเดือนละ ๔๑,๐๐๐ บาท ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นต้นมา การกระทำดังกล่าวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ส่วนที่ ๒ ที่ว่าด้วยการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามมาตรา ๒๖๖ ประกอบมาตรา ๒๖๘ และขัดต่อระบบคุณธรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มิได้เป็นกลางทางการเมืองตามนัยมาตรา ๔๒ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น

ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนี้

/สำนักนายก…

๑. เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี และให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔

๒. เพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี

๓. มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยมีคำสั่งทุเลาการบังคับโดยให้ใช้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒ ที่ให้เพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ และให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปดำรงตำแหน่งเดิมตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔

ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่ง
ให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไว้พิจารณา

/จึงได้พยายาม…

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีในการบริหารประเทศต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
มีนโยบายสำคัญ ๘ ประการ โดยนโยบายความมั่นคงของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แถลงไว้ว่าจะมีการเน้นเกี่ยวกับ
การบริหารวิกฤตการณ์เพื่อรับมือภัยคุกคามด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัย
ที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มากขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายของชาติ
ที่เกิดจากภัยต่างๆ รวมถึงให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของมนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย และอุบัติภัย ทั้งนี้ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงในยุคโลกาภิวัตน์ และจะมีการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการเร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดำเนินการภายในปีแรกของการเข้าบริหารราชการแผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
ในการกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างๆ
ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งรวมทั้งยุทธศาสตร์ด้านการบริหารบุคคลด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ยาวนานในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความมั่นคง เพื่อมาช่วยปฏิบัติราชการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของงานด้านความมั่นคงของประเทศ แต่เนื่องจากสำนักนายกรัฐมนตรีขาดบุคลากรในด้านดังกล่าว
จึงได้พยายามเฟ้นหาบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญ ปรากฏว่า
ผู้ฟ้องคดีซึ่งรับราชการตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีคุณสมบัติครบถ้วนตรงกับความต้องการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีจึงมีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) แจ้งว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีอัตราตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ ว่างอยู่ และมีความประสงค์ที่จะขอรับโอน
ผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจึงขอความเห็นชอบและยินยอมการรับโอน และดำเนินการขอทาบทามขอรับความเห็นชอบและยินยอมจากรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยนางสาวกฤษณาได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔
และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เพื่อให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอน
ผู้ฟ้องคดี ซึ่งพลตำรวจเอก โกวิท ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ จากนั้นนางสาวกฤษณา ได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๒ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป ต่อมาผู้ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๕๐๘/๑๘๖๑๓ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔
ถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไปแล้ว เลขาธิการนายกรัฐมนตรีจึงมีหนังสือ ที่ สบก.(กบค.)/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ความว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นควรให้ผู้ฟ้องคดีอยู่ในบังคับบัญชาของ
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) และมอบหมายให้ปฏิบัติราชการประจำ
พลตำรวจเอก โกวิท เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงของประเทศในการอำนวยการ
และประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิชาการและสถาบันการศึกษาให้สอดคล้องกันและมีบูรณาการ
และเสนอแนะและจัดทำนโยบาย อำนวยการ พัฒนาประสานการจัดการและติดตามประเมินผลด้านการข่าวกรอง การต่อต้านการข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

/ข่าวกรองและ…

รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานโยบายอำนวยการข่าวกรอง การพัฒนาองค์กร
ข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง รวมทั้งปฏิบัติราชการด้านอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับทราบและเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไป พร้อมทั้งได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน และแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๔๐๒ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔
และที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๔๗๙ ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๑ บัญญัติว่า นายกรัฐมนตรี
ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้… (๓) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง
ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
(๔) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม…
เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีฐานะเป็นหัวหน้ารัฐบาลและมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ
ฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ที่มีฐานะเป็นกรม และผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สังกัดสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีอำนาจสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อนตามมาตรา ๑๑ (๓)
และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อีกทั้งกระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีก็เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๑)
มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓๒ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ แล้ว โดยได้พิจารณาอย่างรอบด้านและเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง แม้ขั้นตอนในการขอรับโอน ขอทาบทาม ขอรับ
ความเห็นชอบ และขั้นตอนการนำเสนอ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามที่
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ รวมทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดี
ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจะใช้ระยะเวลาเพียง ๔ วัน ก็ตาม แต่ก็ได้ดำเนินการ
ตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ครบถ้วน อีกทั้งการที่

/นายกรัฐมนตรี…

นางสาวกฤษณาได้ลงนามเห็นชอบในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ภายหลังจากที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือถึงพลตำรวจเอก โกวิท เพื่อให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนผู้ฟ้องคดี ก็มิได้เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้ขั้นตอนหรือวิธีการขอและให้โอนผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด

/โอนย้ายไป…

นอกจากนี้ การออกคำสั่งพิพาทดังกล่าว มิใช่เป็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่นหรือของพรรคการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนขั้นเงินเดือน ของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หากแต่เป็นไปด้วยเหตุที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ โดยจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่ง
และปฏิบัติราชการก็ได้ และในกรณีที่มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี การสั่งและการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย และตามนัยมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้
รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวงหรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวงได้ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔๑/๒๕๕๔
ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง) กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในงานของสำนักงาน
สภาความมั่นคงแห่งชาติ และมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
ในงานของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี การดำเนินการใดๆ ของบุคคลทั้งสามที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นการกระทำแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น การที่บุคคลทั้งสามได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีโอนย้ายไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเป็นการกระทำที่มิได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๖๖ ประกอบมาตรา ๒๖๘ แต่อย่างใด

สำหรับข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีว่า พฤติการณ์ของร้อยตำรวจเอก เฉลิม
อยู่บำรุง เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงของฝ่ายการเมือง นั้น เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีน้ำหนัก
ที่จะชี้ให้เห็นว่าการใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แสดงถึงความไม่เป็นกลางทางการเมืองแต่อย่างใด และในกระบวนการโอนย้ายผู้ฟ้องคดี ก็มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็ไม่เคยมอบหมายและมอบอำนาจให้ร้อยตำรวจเอก เฉลิม กำกับบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในส่วนของสำนักงาน
สภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อีกทั้งไม่เคยมีการดำเนินการใดๆ เพื่อเปิดช่องให้ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติว่าง เพื่อที่จะโอนย้ายพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว และแม้ว่าหากมีการตกลงกันจริง ก็อยู่ในวิสัยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สามารถดำเนินการได้เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน การให้สัมภาษณ์ของร้อยตำรวจเอก เฉลิม
เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ส่วนการมอบหมายและการกำหนดรายละเอียดหน้าที่รับผิดชอบว่าผู้ฟ้องคดีต้องปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องใด ถือเป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาใหม่ของผู้ฟ้องคดีคือ รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ที่จะมอบหมายตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีๆ ไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมิได้ใช้อำนาจตามอำเภอใจ หรือเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม หรือไม่เป็นกลางทางการเมือง หรือใช้อำนาจหน้าที่ก้าวก่าย
หรือแทรกแซง เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในการ
สั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด หากแต่การใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งมิได้มีการกำหนดกรอบหรือข้อจำกัดใดไว้

/ดังกล่าวมาแล้ว…

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขอปฏิเสธหลักฐานทั้งหมดของผู้ฟ้องคดีที่แนบท้ายคำฟ้องทั้งแผ่นซีดีและเอกสารประกอบ ยกเว้นเฉพาะเอกสารของทางราชการ และไม่ขอรับรองความมีอยู่และความถูกต้องแท้จริงของหลักฐานที่ผู้ฟ้องคดีอ้างแนบท้ายคำฟ้องทั้งหมด ยกเว้นพยานเอกสารของทางราชการ เพราะไม่มีผู้รับรองความถูกต้องแท้จริงของพยานหลักฐานดังกล่าว ประกอบกับหลักฐานที่ผู้ฟ้องคดีอ้างมาล้วนเป็นเพียงความเห็นและเป็นพยานบอกเล่าทำให้ขาดน้ำหนักในการรับฟัง จึงไม่อาจถือเอาข้อมูลจากพยานหลักฐานดังกล่าวทั้งหมด
มาเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องของสำนวนคำฟ้องนี้ ด้วยเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สั่งย้ายผู้ฟ้องคดีในครั้งนี้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้บังคับบัญชาในการคัดสรรหรือจัดบุคลากรเพื่อปฏิบัติงาน
ในตำแหน่งหน้าที่โดยคำนึงถึงเหตุผล ความจำเป็น ความเหมาะสม และประโยชน์ของ
ทางราชการเป็นสำคัญ มิได้มีอคติหรือเจตนากลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด

/ที่จะมอบหมาย…

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ฝ่ายเสียงข้างมาก ซึ่งได้แก่
นายศราวุธ เมนะเศวต นางจรวยพร ธรณินทร์ และนางสาวทัศนีย์ ธรรมสิทธิ์ โดยมีนายศราวุธออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงในฐานะประธานที่ประชุม เพื่อชี้ขาดกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน โดยเห็นพ้องกับความเห็นแย้งของนายศราวุธที่ได้ทำไว้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒ ที่เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีอำนาจสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดี
ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไป
ตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๑) มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
และแม้ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีจะใช้เวลาเพียง ๔ วัน แต่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญครบถ้วนตามที่
กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ได้มอบหมายและมอบอำนาจ
ให้รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง) กำกับการบริหารราชการและสั่ง
และปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในส่วนของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อีกทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่ชี้ชัดว่ามีข้อตกลงกันเพื่อเปิดช่องให้ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติว่าง เพื่อที่จะโอนย้ายพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว และแม้ว่าหากมีการตกลงกันจริงก็อยู่ในวิสัยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สามารถดำเนินการได้
เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งบุคคลหนึ่ง
บุคคลใดหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ดังนั้น การให้สัมภาษณ์ของร้อยตำรวจเอก เฉลิม
จึงเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ส่วนการมอบหมายและการกำหนดรายละเอียดหน้าที่รับผิดชอบว่าผู้ฟ้องคดีต้องปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องใด ถือเป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา
ที่จะมอบหมายตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีๆ ไป ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่เป็นกลางทางการเมือง หรือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ก้าวก่ายหรือแทรกแซง
เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในการสั่งให้ผู้ฟ้องคดี
ไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โดยการสับเปลี่ยนบุคคล
ในตำแหน่งระดับสูงขององค์กรต่างๆ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ให้อำนาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ใช้ดุลพินิจในการคัดเลือกบุคคลมาปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ในการบริหาร ข้อเท็จจริงข้างต้น
จึงยังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ คำร้องทุกข์ฟังไม่ขึ้น จึงให้ยก
คำร้องทุกข์

/คำร้องทุกข์…

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า กรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า คำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มีอำนาจในการกลับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
คณะที่ ๒ นั้น ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยเอง หรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา ๑๒๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒ ประกอบด้วย นายศราวุธ เมนะเศวต เป็นประธานกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ นายสุธา วิจักขณ์สุรการย์ เป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ และนายอนุชา วงษ์บัณฑิตย์ เป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และเป็นกรรมการเจ้าของสำนวนตามข้อ ๓๔ วรรคหนึ่ง ของกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์
และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒
ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.ค. ฉบับดังกล่าว และได้จัดทำคำวินิจฉัย โดยกรรมการเสียงข้างมากเห็นว่าคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีฟังขึ้น จึงมีคำวินิจฉัยให้
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ และให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่วนกรณีพลตำรวจเอก วิเชียร เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะเยียวยาจัดหาตำแหน่ง
ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสมต่อไป ส่วนกรรมการเสียงข้างน้อย (นายศราวุธ) เห็นว่า
คำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีฟังไม่ขึ้น ให้ยกคำร้องทุกข์ จากนั้น ได้มีการนำคำวินิจฉัย
เรื่องดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ ตามนัยข้อ ๕๔ วรรคสอง ของกฎ ก.พ.ค. ฉบับดังกล่าวที่กำหนดว่า ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ หรือกรรมการ ก.พ.ค. เจ้าของสำนวนเป็นองค์คณะวินิจฉัย และได้จัดทำคำวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงาน ก.พ.ค. เพื่อทราบ หากมีข้อแนะนำหรือข้อควรปรับปรุงประการใด ให้แก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของ ก.พ.ค. ต่อไป จึงเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะที่ ๒ ยังไม่ถือเป็นที่สุด
โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องจัดทำคำวินิจฉัยเสนอต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เพื่อทราบ
หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
มีข้อทักท้วง ข้อแนะนำหรือข้อควรปรับปรุง หรือมีมติเป็นประการใด ต้องปรับปรุงแก้ไข
ให้เป็นไปตามข้อทักท้วงหรือความเห็นดังกล่าว ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก็ได้ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดมา ไม่ใช่เฉพาะกรณีผู้ฟ้องคดีเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติด้วยเสียงข้างมากว่า
คำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีฟังไม่ขึ้น ให้ยกคำร้องทุกข์ จึงต้องดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย
ตามข้อทักท้วงหรือความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ต่อไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยความเป็นกลางแล้ว

ผู้ฟ้องคดีไม่ประสงค์จะทำคำคัดค้านคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง
และขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป

/และยินยอม…

ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔
ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิม
ไปพลางก่อน และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงาน
สภาความมั่นคงแห่งชาติ และคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อพิเคราะห์การสั่งการให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อนตามคำสั่ง
สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) แจ้งว่าเห็นควรให้ความเห็นชอบ
และยินยอมการรับโอนผู้ฟ้องคดีและดำเนินการขอทาบทามขอรับความเห็นชอบและยินยอมจากรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด นางสาวกฤษณา
ได้ลงนามเห็นชอบในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงพลตำรวจเอก โกวิท แจ้งว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเห็นชอบและมีความประสงค์จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอก โกวิท ได้ลงนามเห็นชอบในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ เห็นได้ว่ากระบวนการดังกล่าวก็คือการโอน
ข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในหรือต่างกระทรวงหรือกรมนั้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และเนื่องจากขณะเกิดกรณีอันเป็นข้อพิพาทนี้ ก.พ.
ยังมิได้ออกกฎ ก.พ. ใช้บังคับ ก.พ. จึงอาศัยอำนาจตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดกรณีการดำเนินการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ
ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔
ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ข้อ ๓ ซึ่งกำหนดว่า การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง ประเภทอำนวยการระดับสูง ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ และประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการระดับกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการ
อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือ
ต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งสังกัดส่วนราชการระดับกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือต่างส่วนราชการระดับกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือ
ต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ในกระทรวงเดียวกัน อาจทำได้เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจ
สั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม

/และประเภท…

สำหรับการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
และประเภทวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่า การดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี อันเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ (๘) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการโอนข้าราชการตามมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่ง ก.พ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติไว้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔
ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงยินยอมในการโอนก่อน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญเพื่อให้ผู้บังคับบัญชา
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาอย่างครบถ้วน รอบด้าน ถึงเหตุผลความจำเป็น
ในการโอน ทั้งในส่วนราชการที่มีความประสงค์จะรับโอนและส่วนราชการที่จะให้โอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แก่ราชการและต้องเป็นไปตามหลักการของระบบคุณธรรม
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑

/สำนักเลขาธิการ…

กรณีอันเป็นข้อพิพาท ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า หลังจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีในการบริหารประเทศต่อรัฐสภาแล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔๑/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยให้พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการในงานของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และมอบหมายและมอบอำนาจให้นางสาวกฤษณา
สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการในงานของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับการโอน
ผู้ฟ้องคดี ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พลตำรวจเอก โกวิท และนางสาวกฤษณา ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานที่ให้โอนและหน่วยงานที่รับโอน ได้ตกลงยินยอมในการโอนผู้ฟ้องคดี ซึ่งแม้จะถือว่าเป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดแล้วก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาขั้นตอนการโอนอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏฟังได้ว่า เริ่มต้นจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) แจ้งว่าเห็นควรให้ความเห็นชอบ
และยินยอมการรับโอนผู้ฟ้องคดีและดำเนินการขอทาบทามขอรับความเห็นชอบและยินยอมจากรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของหน่วยงานที่
ผู้ฟ้องคดีสังกัดอยู่ และก่อนที่นางสาวกฤษณาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบการโอน
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔
ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท) แจ้งว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและมีความประสงค์จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏหลักฐานการให้ความเห็นชอบการรับโอนผู้ฟ้องคดีของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) ในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการอย่างเร่งรีบ ผิดสังเกต ไม่เป็นไปตามขั้นตอนการรับโอนในการปฏิบัติราชการตามปกติ ซึ่งส่วนราชการฝ่ายรับโอนจะต้องเสนอต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาเห็นควรรับโอนข้าราชการให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
แล้วจึงจะมีหนังสือขอความยินยอมการโอนไปยังส่วนราชการต้นสังกัดของข้าราชการ
ที่จะขอโอนมาหรือผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ การอ้างว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นางสาวกฤษณา) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและประสงค์จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดี
ตามหนังสือลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ไปยังรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท) เพื่อขอความเห็นชอบและยินยอมให้โอนผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการแจ้งข้อความที่ไม่ถูกต้อง
ตามความเป็นจริงหรือมีลักษณะเป็นการปกปิดความจริงที่ควรแจ้งให้อีกฝ่ายทราบ
เพื่อพิจารณายินยอมให้โอน แม้ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) จะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบก็ตาม การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น และเมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาในวาระทราบจรเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมิได้เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ย่อมมีผลทำให้มติคณะรัฐมนตรีในการประชุมครั้งดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ แม้การสั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔

/ขาดจากอัตรา…

มาตรา ๑๑ (๔) จะบัญญัติให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจสั่งได้โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือน
ทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับและขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิมก็ตาม แต่การสั่งการในลักษณะดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมต้องเกิดจากกระบวนการโอนที่เป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการโอนข้าราชการด้วย

/วรรคหนึ่ง…

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า เหตุผลประกอบการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สืบเนื่องมาจากการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาประการหนึ่ง ในด้านความมั่นคงที่อ้างเป็นนโยบายเร่งด่วนต้องเร่งดำเนินการภายในปีแรกของการเข้าบริหารราชการแผ่นดินนั้น
มีเหตุผลเพียงพอจะรับฟังหรือไม่ ซึ่งจากกรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีในการบริหารประเทศต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ อันมีสาระของนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ
จะมีการเน้นเกี่ยวกับการบริหารวิกฤตการณ์เพื่อรับมือภัยคุกคามด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มากขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วน
ให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายของชาติที่เกิดจากภัยต่างๆ รวมถึงให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อม
เพื่อเผชิญกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของมนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้ายและอุบัติภัย ทั้งนี้ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงในยุคโลกาภิวัตน์ และจะมีการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และการเร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นได้ว่า เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้แถลงนโยบายดังกล่าวไว้ต่อรัฐสภาแล้ว ก็เป็นภาระหน้าที่ของ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างๆ ที่แถลงไว้ ซึ่งรวมถึงยุทธศาสตร์ด้านการบริหารบุคคลด้วย แต่เมื่อพิจารณาข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ยาวนานในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความมั่นคง จึงให้
ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีก็จะเห็นว่ายังขัดต่อพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อพิจารณาในส่วนของตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔
วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นสมาชิก เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นสมาชิกและเลขานุการ มาตรา ๗ บัญญัติให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติมีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามมติของสภาความความมั่นคงแห่งชาติ และให้มีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ และจะให้มีรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการก็ได้ ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๒ กำหนดให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศโดยเป็นที่ปรึกษา เสนอแนะนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้านความมั่นคงของชาติ อำนวยการ ประสานงาน
ให้เป็นไปตามนโยบาย รวมทั้งการจัดทำแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ป้องกันและแก้ปัญหาด้านความมั่นคง
ในอนาคต ตลอดจนการพัฒนาและการจัดองค์ความรู้ความมั่นคงที่มีคุณภาพโดยให้มีอำนาจหน้าที่ ๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ๒) เสนอความเห็นต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์หรือแผนงานและการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ ๓) อำนวยและประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันและมีบูรณาการ ๔) ศึกษา วิจัย พัฒนา ติดตามสถานการณ์ความมั่นคง และประเมินการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ และสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ ๕) เสนอแนะและจัดทำนโยบาย อำนวยการ ประสาน
การปฏิบัติ ติดตามประเมินผลและพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์
และแผนงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติทั้งในด้านความมั่นคงภายในประเทศ
ความมั่นคงในภูมิภาค และความมั่นคงระหว่างประเทศครอบคลุมถึงภัยคุกคามความมั่นคงภายใน ภัยคุกคามข้ามชาติ ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ รวมทั้งการป้องกันประเทศและการเตรียมพร้อมแห่งชาติ การอำนวยการข่าวกรอง การจัดการความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน ตลอดจนการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ และเสนอความเห็น

/ตามนโยบาย…

ต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี ๖) ติดตาม ประเมินผลและรายงานการปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติและนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ ๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสภา
ความมั่นคงแห่งชาติ หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๓ กำหนดให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็น ๑) สำนักงานเลขาธิการ ๒) สำนักนโยบายและแผนความมั่นคง ๓) สำนักประเมินภัยคุกคาม ๔) สำนักยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมและการป้องกันประเทศ ๕) สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน ๖) สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ
๗) สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรม
๘) สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายในประเทศ ๙) สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงระหว่างประเทศ ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๐๗๐๗.๕.๑/๒๒๓ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ และที่ นร ๑๐๐๘/ว ๑๗
ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน ๖ ตำแหน่ง โดยให้กำหนดชื่อในสายงานตามตัวบุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้ง โดยยังคงตำแหน่งในสายงานเดิมและให้ผู้ได้รับแต่งตั้งได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์อื่นที่ได้รับอยู่เดิม เป็นตำแหน่งเพื่อใช้
เป็นอัตราหมุนเวียนสำหรับการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกันและไม่ให้ใช้สำหรับการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในคราวเดียวกัน และตามแบบ
คำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งไว้ ๕ ประการ คือ ๑. ให้คำปรึกษา เสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านความมั่นคงให้แก่นายกรัฐมนตรี ๒. ให้คำปรึกษาการกำหนดแนวทางและการประสานงาน ท่าทีกลยุทธ์ด้านความมั่นคงให้แก่นายกรัฐมนตรี ๓. เร่งรัด ติดตาม และวิเคราะห์หาข้อสรุปเกี่ยวกับนโยบายสำคัญเร่งด่วนในด้านความมั่นคงตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ๔. ประสานงานกับส่วนราชการหรือภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนภารกิจ
ด้านความมั่นคง และ ๕. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ประกอบกับข้อเท็จจริงปรากฏว่า เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ที่ สบก.(กบค.)/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ความว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว เห็นควรให้ผู้ฟ้องคดีอยู่ในบังคับบัญชาของรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ)
และมอบหมายให้ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงของประเทศในการอำนวยการและ

/ภาคเอกชน…

ประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิชาการและสถาบันการศึกษาให้สอดคล้องกันและมีบูรณาการ
และเสนอแนะและจัดทำนโยบาย อำนวยการ พัฒนาประสานการจัดการและติดตามประเมินผลด้านการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานโยบาย อำนวยการข่าวกรอง การพัฒนาองค์กรข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง รวมทั้งปฏิบัติราชการด้านอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับทราบและเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปตามที่เสนอ เห็นได้ว่า ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบมากกว่าตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของการใช้อำนาจทั้งในทางบริหารและบังคับบัญชาแล้ว ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาตินอกจากต้องกำกับดูแลและบริหารราชการภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้ว ยังสามารถให้คำปรึกษาและเสนอแนะความเห็นแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้โดย
ไม่จำต้องแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีนั้น แม้จะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอแนะความเห็นแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานะการปฏิบัติงานจริงแล้ว ย่อมไม่อาจใช้อำนาจบริหาร รวมถึงการบังคับบัญชาข้าราชการได้ดังเช่นการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพราะตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีอำนาจ
และหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
และกฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำนั้น มีเพียงหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอแนะแก่ผู้บังคับบัญชาคือ
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เฉพาะในงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ทั้งๆ ที่เมื่อพิจารณาจากสายการบังคับบัญชาแล้ว ไม่ว่าผู้ฟ้องคดีจะดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
ผู้ฟ้องคดีก็ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและการบังคับบัญชาของรองนายกรัฐมนตรี
คนเดียวกันคือพลตำรวจเอก โกวิท ซึ่งกรณีเช่นนี้ หากรัฐบาลหรือผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
มีนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาอย่างไร
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็สามารถมอบนโยบายให้รองนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติรับไปปฏิบัติและสามารถรับสนองนโยบายทั้งปวงของรัฐบาลได้มากกว่าการแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพราะผู้ฟ้องคดีจะสามารถสั่งการได้ทุกๆ ด้านในหน่วยงานสังกัดสำนักงานสภาความมั่นคง

/ตามนโยบาย…

แห่งชาติตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย เพราะมีความพร้อมในการปฏิบัติการ
ตามนโยบายได้อย่างรวดเร็วยิ่งกว่าการดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำเสียอีก ประกอบกับข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีก็ดำเนินการอย่างเร่งรีบ ไม่เป็นไปตามขั้นตอนการรับโอนในการปฏิบัติราชการตามปกติ
จึงเชื่อได้ว่าปัจจัยอันเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงผู้ฟ้องคดีจากการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ คือความประสงค์ให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงอยู่ในขณะนั้นว่างลง เพื่อแต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน เหตุผล
ตามข้ออ้างข้างต้นยังไม่เพียงพอจะรับฟังว่า การออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ราชการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงไว้
ต่อรัฐสภา จึงเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักการตามระบบคุณธรรม ดังที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๔ ประกอบมาตรา ๔๒
ที่บัญญัติสรุปว่า ต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
และให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
การบริหารทรัพยากรบุคคล การพิจารณาความดีความชอบ การดำเนินการทางวินัย หรือการ
บริหารทรัพยากรบุคคลที่ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เกิดจากกระบวนการโอนที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการ
อันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการโอนข้าราชการ และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่สมเหตุสมผลซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลให้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย

/ข้อโต้แย้ง…

ปัญหาว่า คำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี
ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นั้น เห็นว่า เมื่อศาลได้พิจารณาในประเด็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เกิดจากกระบวนการโอนที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการโอนข้าราชการ
และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่สมเหตุสมผลซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กรณีย่อมมีผลให้
คำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย ข้อโต้แย้งประการอื่นๆ ของผู้ฟ้องคดีจึงไม่จำต้องพิจารณาอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔
ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งและประกาศฉบับดังกล่าวมีผลบังคับ กับเพิกถอนคำวินิจฉัยของ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คือ เมื่อคำสั่งพิพาทถูกศาล
เพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังดังกล่าว ย่อมมีผลทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีมิได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยเร็ว

/ในรูปแบบใหม่…

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อุทธรณ์ว่า ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และการสั่งให้ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ นั้น ได้กระทำโดยถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น
ทุกประการ กล่าวคือ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อนนั้น สาเหตุเนื่องมาจากเมื่อวันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้แถลงนโยบายในการบริหารประเทศต่อรัฐสภา ซึ่งนโยบายความมั่นคงของรัฐในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แถลงเน้นเกี่ยวกับการบริหารวิกฤตการณ์เพื่อรับมือภัยคุกคามด้านต่างๆ ที่มีมากขึ้น ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไขบรรเทาและฟื้นฟูความเสียหายของชาติ
ที่เกิดจากภัยต่างๆ รวมถึงให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมเผชิญกับปัญหาความมั่นคง
ในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน ทั้งนี้ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงในยุคโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ จะมีการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข และการเร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แถลงต่อรัฐสภาว่าจะต้องเร่งดำเนินการภายในปีแรกของการเข้าบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งนโยบายด้านความมั่นคงแห่งรัฐก็เป็นนโยบายสำคัญในนโยบาย ๘ ประการ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
ได้แถลงต่อรัฐสภา จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์
ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างๆ ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งรวมทั้งยุทธศาสตร์ด้านการบริหารบุคคลด้วย ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีความต้องการบุคลากร
ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ยาวนานในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความมั่นคง เพื่อมาช่วยปฏิบัติราชการในฝ่ายนโยบายให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของงานด้านความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากสำนักนายกรัฐมนตรีขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ยาวนานในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความมั่นคง เพื่อช่วยปฏิบัติราชการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของงานความมั่นคงของประเทศ สำนักนายกรัฐมนตรีจึงได้พยายามเฟ้นหาบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถและ
ความเชี่ยวชาญดังกล่าว ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีซึ่งรับราชการอยู่ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีคุณสมบัติครบถ้วนตรงกับที่สำนักนายกรัฐมนตรีมีความต้องการ ดังนั้น นายบัณฑูร สุภัควณิช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
จึงได้มีหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) ว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีความประสงค์ที่จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดี ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ ที่ว่างอยู่ โดยขอความเห็นชอบและยินยอมการรับโอน และดำเนินการขอทาบทามขอรับความเห็นชอบ
และยินยอมจากรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อขอรับโอนผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๕

/นายกรัฐมนตรี…

กันยายน ๒๕๕๔ และในวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ นั้นเอง นายบัณฑูร สุภัควณิช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ)
ได้เห็นชอบในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ เช่นเดียวกัน จากนั้น รัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) จึงได้มีหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๒ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีความประสงค์จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดี
มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้กำหนดชื่อในสายงานตามตัวบุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้ง โดยยังคงดำรงตำแหน่งในสายงานเดิมและให้ผู้ได้รับแต่งตั้งได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง สิทธิประโยชน์อื่นที่ได้รับอยู่เดิม และรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว จึงขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีบันทึกท้ายหนังสือดังกล่าวถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) แจ้งว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมาตรา ๙
แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องฯ และขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระจร
ในวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔
และในวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำเรื่องการโอนผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นแห่งชาติ มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ จากนั้น
นางสมศรี นาคจำรัสศรี ผู้อำนวยการสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฏิบัติราชการ
แทนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลับมาก ที่ นร ๐๕๐๘/๑๘๖๑๓
ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติ

/เลขาธิการ…

เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไปแล้ว จากนั้น
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔
ให้ผู้ฟ้องคดีมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิม
ไปพลางก่อน โดยการสั่งให้ผู้ฟ้องคดีมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีในระหว่างการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่นั้น นายบัณฑูร สุภัควณิช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ
ที่ สบก.(กบค.)/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ความว่า
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นควรให้ผู้ฟ้องคดีอยู่ในบังคับบัญชาของ
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) และมอบหมายให้ปฏิบัติราชการประจำ
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงของประเทศในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ กับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิชาการและสถาบันการศึกษาให้สอดคล้องกัน
และมีบูรณาการ และเสนอแนะและจัดทำนโยบาย อำนวยการพัฒนา ประสานการจัดการและติดตามประเมินผลด้านการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานโยบายอำนวยการข่าวกรอง การพัฒนาองค์กรข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง รวมทั้งปฏิบัติราชการด้านอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับทราบและเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปตามที่เสนอ จากนั้น นายภราดา เณรบำรุง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ด่วนที่สุด
ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๔๐๒ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงผู้ฟ้องคดี แจ้งให้ทราบว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ นายบัณฑูร สุภัควณิช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ได้มีหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๔๗๙ ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงผู้ฟ้องคดี แจ้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีบัญชามอบหมายงานให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติราชการประจำรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงของประเทศในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์

/จากข้อเท็จจริง…

ความมั่นคงแห่งชาติ

/ต่อรัฐมนตรี…

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นั้น ได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกประการ โดยได้พิจารณาอย่างรอบด้านและเป็นไปเพื่อประโยชน์
ในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑ บัญญัติว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้… (๓) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม (๔) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือน
ทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับและขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม และพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๗ บัญญัติว่า การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้
เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความ
กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง… มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ซึ่ง ก.พ. ได้กำหนดการดำเนินการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เพื่อ
ใช้ปฏิบัติตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔
ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยข้อ ๓ กำหนดว่า การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง ประเภทอำนวยการระดับสูง ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ และประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการระดับกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือ
ต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งสังกัดส่วนราชการระดับกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือต่างส่วนราชการระดับกรม และมีหัวหน้า
ส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ในกระทรวงเดียวกัน อาจทำได้เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามกฎหมายทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้ง
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม สำหรับการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และประเภทวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีโดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อนจึงเป็นการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินในฐานะหัวหน้ารัฐบาลที่สามารถกระทำได้ ส่วนการโอนผู้ฟ้องคดีไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำนั้น หากพิจารณาตามแนวทาง
ในหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จะเห็นได้ว่า ก.พ. ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงยินยอมในการโอนก่อน
เมื่อปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔๑/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยมอบหมายและมอบอำนาจให้
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในงานของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์)
สั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในงานของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
โดยในส่วนที่เกี่ยวกับการโอนผู้ฟ้องคดีนั้น รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท)
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) เป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจ

/ได้ตกลง…

สั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ได้ตกลงยินยอมในการโอนผู้ฟ้องคดี จึงถือได้ว่าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนผู้ฟ้องคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดแล้ว จากนั้นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์)
ได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๒ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรี ขอให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
ได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีในวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ เพื่อลงมติ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
ในวันเดียวกันอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และสำนักราชเลขาธิการ
ได้นำความกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเดิม
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป กรณีจึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการ
อันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๑) มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๑๓๒ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ แล้ว

/ได้บัญญัติไว้…

นอกจากนี้ ตามนัยมาตรา ๕๗ และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ กฎหมายมิได้กำหนด “แบบ” “รูปแบบ” หรือ “ลำดับ”
ของการดำเนินการในขั้นตอนของการทาบทามการโอนไว้ กฎหมายกำหนดสาระสำคัญ
ไว้เพียงว่าการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญในกรณีเช่นนี้ “อาจทำได้เมื่อผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว” เท่านั้น ดังนั้น ขั้นตอนการโอนตามกฎหมายและตามข้อกำหนดของ ก.พ. จึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ผู้บังคับบัญชาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอน โดยมิได้มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินการไว้แต่ประการใด
ในการปฏิบัติราชการตามปกติ ผู้บังคับบัญชาทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการประสานงานให้มีการตกลงยินยอมกันเสียก่อนแล้ว จึงจะมีการสั่งการให้ส่วนราชการดำเนินการจัดทำเป็นหนังสือยินยอมการโอนอันเป็นการดำเนินการในทางธุรการเพื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือประกอบการออกคำสั่ง และโดยปกติต้องมีหนังสือทาบทามให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้จะโอนไปให้ความยินยอมเสียก่อน ผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการที่จะรับโอนจึงจะสามารถเห็นชอบให้โอนมารับราชการยังส่วนราชการของตนได้ ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่า
การโอนไม่เป็นไปตามกฎหมาย น่าจะเป็นการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนไปจากที่กฎหมาย
ได้บัญญัติไว้ และการที่วินิจฉัยว่าการโอนไม่เป็นไปตามขั้นตอนการรับโอนในการปฏิบัติราชการปกติ ก็เป็นคำวินิจฉัยที่แตกต่างไปจากขั้นตอนการปฏิบัติตามปกติที่ส่วนราชการทั่วไปดำเนินการกันอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมกันแล้ว การโอนย่อมเกิดผลตามกฎหมาย ซึ่งการโอนย้ายข้าราชการพลเรือนมีกรอบ
การดำเนินการตามกฎหมายที่ชัดเจน และไม่ปรากฏบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องนำบทบาท หน้าที่และศักดิ์ศรีมาประกอบการพิจารณาการโอนย้ายข้าราชการด้วย
แต่อย่างใด เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นความรู้สึกที่ไม่มีบรรทัดฐานในการวัด การนำมาประกอบการพิจารณา จะทำให้บทบัญญัติของกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้
ซึ่งโดยข้อเท็จจริง ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกันย่อมไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด การต้องนำเรื่องบทบาทหน้าที่และศักดิ์ศรีในทางราชการของผู้ที่จะโอนย้ายมาประกอบ
การพิจารณาด้วยนั้น จะทำให้บทบัญญัติตามมาตรา ๕๗ และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ไม่สามารถบังคับใช้ได้ การโอนย้าย
ข้าราชการพลเรือนสามัญจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ โดยยึดถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และกฎที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก มิใช่พิจารณาที่ประโยชน์ส่วนบุคคล
โดยนำเรื่องบทบาท หน้าที่และศักดิ์ศรีในทางราชการของผู้ที่จะโอนย้ายมาประกอบ
การพิจารณาแต่อย่างใด

/แห่งพระราชบัญญัติ…

ส่วนกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) ได้เห็นชอบให้รับโอนผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ปรากฏตามหนังสือ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ภายหลังจากที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท) แจ้งว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) เห็นชอบและมีความประสงค์จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ และรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท) ได้เห็นชอบการโอนเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ หนังสือที่มีถึง
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท) จึงออกก่อนที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) จะพิจารณาให้ความเห็นชอบในการรับโอน จึงไม่เป็นไปตามรูปแบบ
และขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญของการแต่งตั้งโยกย้ายและการโอนผู้ฟ้องคดี นั้น เห็นว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) และรองนายกรัฐมนตรี
(พลตำรวจเอก โกวิท) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๑)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ลงนามเห็นชอบยินยอม
ในขั้นตอนการขอโอนและรับโอนผู้ฟ้องคดีในวันเดียวกัน คือ วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔
และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา)
ได้ปฏิเสธว่าตนมิได้เป็นผู้ลงนามให้ความเห็นชอบและยินยอมในการรับโอนผู้ฟ้องคดีแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ อีกทั้งการที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) ได้ลงนามในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ก็มิได้เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้ขั้นตอนหรือวิธีการขอโอนและรับโอนผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด

ส่วนที่ศาลปกครองชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ นั้น เห็นว่า การใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจชอบด้วยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และคุณธรรมแล้ว โดยมีเหตุผล ดังนี้

/ขึ้นตรงต่อ…

(๑) ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แท้ที่จริงแล้ว เป็นตำแหน่งที่ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มิใช่ตำแหน่งที่ขึ้นตรงต่อรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) การที่ศาลปกครองชั้นต้นรับฟังว่า ตำแหน่งดังกล่าวขึ้นตรงต่อรองนายกรัฐมนตรี
(พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เป็นการรับฟังที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการมอบหมายงานตามหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ สบก.(กบค.)/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ นั้น เป็นเพียงการมอบหมายงานชั่วคราวเพื่อให้สอดรับกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีมาปฏิบัติราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรีโดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อนเท่านั้น และเป็นการมอบหมายงานให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติราชการในระหว่างรอกระบวนการโอนตามขั้นตอน
ของกฎหมาย แม้กระนั้นก็ตาม การมอบหมายงานดังกล่าวก็เป็นงานสำคัญระดับนโยบาย
ที่ปฏิบัติงานให้กับรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายงานให้ปฏิบัติราชการ
แทนนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงที่ผู้ฟ้องคดีมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ต่อมา
เมื่อกระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีมายังตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เสร็จสิ้น โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้ว ผู้ฟ้องคดีก็จะมีสายการบังคับบัญชา
ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง มีอำนาจหน้าที่ตามคำบรรยายลักษณะงาน
(JOB DESCRIPTION) ในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ตำแหน่งเลขที่ ๖ ตั้งแต่แรกที่ดำรงตำแหน่ง และมีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นตามคำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๒/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๕ และคำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๖๖/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๕ ซึ่งผู้ฟ้องคดีสามารถเสนองานต่อนายกรัฐมนตรีตามอำนาจหน้าที่ได้โดยตรงผ่านเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ดังนั้น
การปฏิบัติราชการในตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นฝ่ายปฏิบัติตามนโยบาย และการปฏิบัติราชการในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
ซึ่งเป็นฝ่ายเสนอแนะนโยบาย จึงเป็นบทบาทหน้าที่ที่ไม่ด้อยกว่ากัน และไม่อาจเทียบเคียงกันได้ว่าตำแหน่งใดสำคัญกว่ากัน เพราะเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นตำแหน่ง
ในฐานะผู้ปฏิบัติงานและทำงานตามนโยบายที่สภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมายหรือตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กำหนด ส่วนที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอนโยบายต่อ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีอำนาจหน้าที่วิเคราะห์สรุปนโยบายสำคัญและเสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคง หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เห็นชอบ ก็จะสั่งการให้เลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติรับนโยบายไปปฏิบัติต่อไป การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าไม่เคยได้รับมอบหมายงาน จึงมิใช่ข้อที่จะยกขึ้นอ้างได้ เพราะแม้มิได้มีการมอบหมายงานเพิ่มเติม
ผู้ฟ้องคดีก็จะต้องปฏิบัติหน้าที่เสนอความเห็นได้โดยตรงอยู่แล้ว

/มาสู่งาน…

(๒) การใช้ดุลพินิจโอนย้ายผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นการใช้ดุลพินิจที่คำนึงถึงประโยชน์ของมหาชนเป็นหลัก และได้นำเอาผลประโยชน์ของ
ผู้ฟ้องคดีมาร่วมพิจารณาอย่างเพียงพอแล้ว กล่าวคือ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ณ ช่วงเวลา นั้น ที่รัฐบาลต้องการทั้งบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ยาวนานในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความมั่นคง ทั้งในฐานะ “เสนาธิการ” ซึ่งปฏิบัติงาน
ในการเสนอแนะในฝ่ายนโยบายในลักษณะของการเป็น “เสนาธิการ” ที่จะต้องนำเสนอแนวคิดการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงให้แก่
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยไม่จำเป็นที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะต้องมีบัญชา สั่งการ หรือทวงถาม
และในฐานะ “ฝ่ายปฏิบัติการภาคสนาม” ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
การยกระดับการปฏิบัติราชการของผู้ฟ้องคดี จากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เป็นการยกระดับการปฏิบัติราชการจากองค์กรซึ่งถือว่าเป็นเพียง “ฝ่ายปฏิบัติการ”
มาสู่งานระดับนโยบายในลำดับบนที่มีความเหมาะสมต่อคุณสมบัติของผู้ฟ้องคดี
ซึ่งเป็นข้าราชการที่มีอาวุโส ประสบการณ์สูง มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาความมั่นคงมากกว่า ในขณะที่งานของ “ฝ่ายปฏิบัติการภาคสนาม” อย่างเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ ณ สถานการณ์ในขณะนั้นต้องเกี่ยวพันกับงานภาคสนาม
เป็นหลัก การรับโอนบุคลากรจากองค์กรทหารหรือตำรวจที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานภาคสนามจริงจะมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี หรือพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร ซึ่ง ณ สถานการณ์ปัจจุบันที่งานด้านความมั่นคงของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการไปได้ด้วยดี ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ได้
เป็นอย่างดีว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลช่วงที่ผ่านมาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้นำมาสู่
ความมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ความปรองดองของประเทศ และกำลังก้าวไปสู่การนำความสงบสุขกลับคืนสู่สังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าการใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นไปโดยชอบเพื่อประโยชน์ของมหาชน
อย่างแท้จริง

(๓) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔
ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ นั้น มิได้ทำให้สิทธิของผู้ฟ้องคดีเปลี่ยนไป เพราะยังคงดำรงตำแหน่งในระดับนักบริหารระดับสูงเช่นเดิมและรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ยังคงเท่าเดิมทุกประการ การที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าการโอนดังกล่าวทำให้ผู้ฟ้องคดีขาดขวัญกำลังใจ ทำให้เสียชื่อเสียง เสียสุขภาพกายและใจ นั้น เป็นความรู้สึกของผู้ฟ้องคดีเอง
และเป็นเรื่องผลกระทบทางด้านจิตใจ มิใช่เป็นผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด โดยนิตินัย ผู้ฟ้องคดีจึงยังไม่อยู่ในฐานะผู้ได้รับความเดือดร้อน
หรือเสียหาย

/เมื่อผู้บังคับบัญชา…

นอกจากนี้ ในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้าราชการย่อมต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย มิใช่เป็นสิทธิของข้าราชการที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่
ตนประสงค์จะดำรงตำแหน่งนั้น ด้วยเหตุนี้ มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ จึงกำหนดให้การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญอาจกระทำได้
เมื่อผู้บังคับบัญชาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอน โดยมิได้กำหนดให้ข้าราชการ
ที่จะถูกโอนต้องให้ความยินยอม เว้นแต่การโอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
ที่ต่ำกว่าเดิม จะกระทำมิได้ ถ้ามิได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้น เมื่อตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำเป็นตำแหน่งในระดับเดียวกัน และผู้บังคับบัญชาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเหตุผลในการโอนข้าราชการ ย่อมเป็นไปตามดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่ต้องรับผิดชอบในการบริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และมีดุลพินิจที่จะกำหนดตัวบุคคลในการปฏิบัติงานตามที่จะมอบหมาย ซึ่งเป็นไปตามหลักความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชาต้องรับผลในความเสียหายที่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติ การมอบหมายงานให้ข้าราชการปฏิบัติ
ในตำแหน่งใด จึงเป็นเรื่องความเหมาะสมที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องรับผิดชอบในผลของการปฏิบัติงาน และไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะข้าราชการผู้นั้นประสงค์จะปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ตนชอบ การที่ศาลปกครองชั้นต้นได้วินิจฉัยล่วงล้ำเข้าไปถึงการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในการมอบหมายงาน ย่อมจะเป็นการกระทบกระเทือนกับความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาชนให้เป็นผู้นำฝ่ายบริหาร เนื่องจากนโยบายด้านความมั่นคงแห่งรัฐ
เป็นนโยบายสำคัญที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แถลงต่อรัฐสภา จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการที่จะกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างๆ
ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งรวมทั้งยุทธศาสตร์ด้านการบริหารบุคคลด้วย ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้คัดเลือกผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะมาช่วยปฏิบัติงานในระดับนโยบายดังกล่าว จึงเป็นประโยชน์แก่การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ

ด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โอนผู้ฟ้องคดีในครั้งนี้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้บังคับบัญชาในการคัดสรร
หรือจัดบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ โดยได้คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น
ความเหมาะสม และประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อใช้คนให้เหมาะกับงาน อันเป็นหลักการบริหารงานบุคคล โดยมิได้มีอคติหรือเจตนากลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด และได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนและกฎหมายกำหนดไว้ทุกประการ

/ผู้ฟ้องคดี…

ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นโดยพิพากษายกฟ้องคดีนี้ด้วย

ผู้ฟ้องคดีแก้อุทธรณ์ว่า คำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้นชอบด้วยเหตุ
และผลแล้ว มิได้เป็นการวินิจฉัยที่เป็นการก้าวล่วงฝ่ายบริหารแต่อย่างใด รวมทั้งเห็นว่า
คำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มิได้มีประเด็นอันเป็นสาระสำคัญที่ควรได้รับการวินิจฉัยอีก ผู้ฟ้องคดีขอถือเอาคำฟ้องและคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นเป็นคำแก้อุทธรณ์
และโดยที่ได้มีคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นต้นมา ผู้ฟ้องคดี
ได้ใช้สิทธิ์ทางกฎหมายตามแบบแผนและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองในเวลาต่อมา ผู้ฟ้องคดีมิได้ใช้ช่องทาง
ฟ้องร้องอื่นๆ แต่อย่างใด เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในศาลปกครองว่าจะสามารถอำนวย
ความยุติธรรมและสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดแก่ระบบราชการได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ฟ้องคดี
จะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ นี้ จึงขอให้ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และพิพากษายืนตามคำพิพากษาของ
ศาลปกครองชั้นต้นก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะเกษียณอายุราชการโดยเร็วต่อไป เพื่อให้ผู้ฟ้องคดี
ได้รับความเป็นธรรมตามคำพิพากษาของศาลอย่างแท้จริง และเพื่อให้เกิดบรรทัดฐานไม่ให้
ผู้ออกคำสั่งโอนหรือย้ายใช้วิธียื้อเวลาในกระบวนการพิจารณาของศาล โดยอ้างความถึงที่สุด
ของคดี เพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลในกรณีนี้และกรณีอื่นๆ อีกต่อไป

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ส่งสำเนาเอกสารหลักฐาน ซึ่งได้แก่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๕๖/๒๕๕๔
ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ตช. ๐๐๐๑(ว)/๒๕๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ คำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๒/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๕ และคำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๖๖/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๕ เพื่อประกอบ
การพิจารณาตามคำสั่งศาล

ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ยื่นคำแถลงและชี้แจงข้อเท็จจริงประกอบเอกสาร
ที่นำส่งต่อศาลปกครองสูงสุด ดังนี้

/พ.ศ. ๒๕๕๑…

(๑) ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขอยืนยันอีกครั้งว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไว้สำหรับเรื่องการโอนทุกประการ กล่าวคือ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
เช่นกรณีของผู้ฟ้องคดีนั้น หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ข้อ ๓ ได้กำหนดสาระสำคัญว่า การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทระดับสูง สังกัดส่วนราชการระดับกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือส่วนราชการระดับกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ในกระทรวงเดียวกัน อาจทำได้เมื่อผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้
ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม สำหรับการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยในส่วนของการตกลงยินยอมการโอน มิได้ระบุว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ซึ่งในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอรับโอนพลโท สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านความมั่นคง โดยไม่มีหลักฐานการขอรับโอนและการให้โอนบุคคลดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงว่าการโอนในครั้งนั้น เป็นการตกลงยินยอมด้วยวาจาของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ของทั้งสองฝ่าย
แต่มีหลักฐานว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในการโอนพลโท สุรพล เผื่อนอัยกา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ และก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ได้มีคำสั่งให้พลโท สุรพล เผื่อนอัยกา มาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยให้นายถวิล เปลี่ยนศรี รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เป็นผู้รักษาราชการแทน นอกจากนี้ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึงสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ขอรับโอนพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๔

/กรกฎาคม ๒๕๕๓…

โดยไม่มีเหตุผลในการขอรับโอน และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีหนังสือลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ (ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีขอรับโอน)
ถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีให้โอนพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร ได้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ จะเห็นได้ว่าในการโอนพลโท สุรพล เผื่อนอัยกา ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนด้วยวาจา แต่ในการโอนพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุ
ตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมในการโอนเป็นลายลักษณ์อักษร และหนังสือขอรับโอนและหนังสือให้โอนก็ลงวันที่วันเดียวกัน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าการตกลงยินยอม
ในการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ดังกล่าว ไม่มีรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ดังนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่าจะโอนกันอย่างไรก็ได้ ขอแต่เพียงให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ตกลงยินยอมในการโอน ก็ถือได้ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายตามที่กล่าวมาข้างต้น

/กันยายน ๒๕๕๔…

การโอนผู้ฟ้องคดีครั้งนี้ แม้จะดูเหมือนเป็นการเร่งรีบ จะด้วยเหตุผลใดๆ ตามที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำวินิจฉัยก็ตาม แต่เนื่องจากการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ดังกล่าว ไม่มีรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน และการโอนครั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งสองฝ่าย คือรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ)
ซึ่งได้รับการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในงานของสำนักงาน
สภาความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์)
ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้ปฏิบัติราชการแทนในงานสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ตกลงยินยอมในการโอนผู้ฟ้องคดีให้มาปฏิบัติงานที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์
และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญสำหรับการโอนข้าราชการตามที่ ก.พ. กำหนดแล้ว และโดยที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑ (๓) บัญญัติให้
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหาร
ทุกตำแหน่ง ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และ (๔)
ให้มีอำนาจหน้าที่สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณี
ที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับและขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม ดังนั้น การมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการดำเนินการ
โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว กรณีจึงรับฟังได้ว่าขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดแล้ว

/ในระดับสูง…

(๒) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เห็นว่าโดยที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑ (๓) และมาตรา ๑๑ (๔) บัญญัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหาร
ทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะ
เป็นกรม และมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการที่สังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการ
ที่สำนักนายกรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดได้โดยที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้น เว้นแต่โอนมาดำรงตำแหน่งและได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม จะต้องได้รับการยินยอมจากข้าราชการพลเรือนผู้นั้น ดังนั้น เมื่อฝ่ายบริหารเห็นว่าผู้ฟ้องคดีมีคุณสมบัติและประสบการณ์ในลักษณะงานที่ตรงกับงานระดับนโยบาย
ที่จะต้องปฏิบัติ มีความเหมาะสมที่จะมาช่วยปฏิบัติงานอันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารแถลงต่อรัฐสภา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อนได้ตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าว ประกอบกับกระบวนการโอน
ผู้ฟ้องคดี ก็ดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ดังที่กล่าวมาแล้ว การออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี จึงเป็นการใช้ดุลพินิจ
โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น กระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีจึงสมเหตุสมผลโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีผลทำให้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่ให้ผู้ฟ้องคดีย้ายจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาปฏิบัติงานที่สำนักนายกรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายไปด้วย และโดยที่เจตนารมณ์ของการกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีก็เพื่อเสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับนโยบายสำคัญตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และรับผิดชอบโครงการสำคัญเฉพาะเรื่องตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งเพื่อคลี่คลายปัญหาทางการบริหาร
ในระดับสูง ซึ่งใช้เป็นอัตราสำหรับการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดิม และไม่ให้ใช้สำหรับการแต่งตั้งบุคคลเป็นระดับสูงขึ้น ดังนั้น หากฝ่ายนโยบายไม่สามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้บริหารมาในตำแหน่งนี้ได้ ก็จะไม่เกิดการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและการบริหารบุคคล ก็จะไม่มีความคล่องตัว

/หมุนเวียน…

คำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้นในคดีนี้มีประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องการ
ความชัดเจนโดยการชี้ขาดจากศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นการวางบรรทัดฐานที่สำคัญในการบริหารงานภาครัฐ มิใช่เพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น หากเป็นตำแหน่งในระดับเดียวกันแล้ว ย่อมไม่อาจเทียบเคียงกันได้ว่าตำแหน่งใดสำคัญกว่ากัน การวางหลักของศาลปกครองชั้นต้นด้วยการนำประเด็นเรื่องบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งทางราชการมาเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องการใช้ดุลพินิจโดยไม่สมเหตุสมผลซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จะทำให้หัวหน้าฝ่ายบริหาร
ไม่สามารถโอนย้ายข้าราชการในตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการได้เลย เพราะจะถือเป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบทั้งสิ้น ดังนั้น การวางหลักของศาลปกครองสูงสุดในประเด็นนี้ จึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งและนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงต่อการบริหารงานบุคคลของภาครัฐต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระดับหัวหน้าส่วนราชการ เมื่อเปรียบเทียบบทบาท อำนาจหน้าที่ และประโยชน์ของข้าราชการกับความรับผิดชอบทางการเมืองของหัวหน้าฝ่ายบริหารที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา จะเห็นได้ว่าหากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะผู้บังคับบัญชา
สูงสุดของข้าราชการประจำไม่สามารถดำเนินการตาม “มาตรการภายในของฝ่ายปกครอง” ตามที่กฎหมายได้ให้อำนาจไว้ แม้แต่เพียงการบริหารทรัพยากรบุคคล แต่กลับต้อง
ถูกตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการบริหารงานบุคคล ในเรื่องที่ว่าด้วยการหมุนเวียนสับเปลี่ยนบทบาทหรือการทำหน้าที่ของข้าราชการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามแนวนโยบายที่หัวหน้าฝ่ายบริหารได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาเสียแล้ว หัวหน้าฝ่ายบริหารย่อมจะไม่มีเครื่องมือทางกฎหมายใดๆ หรือ “มาตรการภายในของฝ่ายปกครอง” หลงเหลืออยู่ให้ใช้ในการแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือต่อมหาชนได้เลย
ซึ่งในการบริหารราชการงานด้านความมั่นคง การหมุนเวียนสับเปลี่ยนหัวหน้าส่วนราชการ
ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นมาตรการภายในของฝ่ายบริหารโดยแท้ โดยการพิจารณาย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้านความมั่นคง ณ ช่วงเวลานั้นๆ ที่ฝ่ายบริหารจะต้องเลือกปฏิบัติและตัดสินใจด้วยตนเองในความรับผิดชอบของตนเอง เพราะกรณีอาจมีการปฏิบัติและการตัดสินใจได้หลายอย่างและแต่ละอย่างก็ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น การสับเปลี่ยน
หมุนเวียนหัวหน้าส่วนราชการที่ปฏิบัติราชการรับผิดชอบงานด้านความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็น
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ย่อมเป็นสิ่งที่หัวหน้าฝ่ายบริหารพึงกระทำ และเป็นความรับผิดชอบทางการเมืองของหัวหน้าฝ่ายบริหารเองทั้งสิ้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงขอ
กราบเรียนต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อขอโอกาสให้รัฐบาลได้สะท้อนภาพผลสัมฤทธิ์ของนโยบายด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบทางการเมืองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เองให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และพิจารณาตามวิถีทางของประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้
การดำเนินงานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะนโยบายการสร้างความปรองดองในช่วงที่ผ่านมา ที่ต้องการความต่อเนื่อง ต้องมาสูญเปล่าและต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ ซึ่งย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนโดยรวมแต่อย่างใด

ศาลปกครองสูงสุดออกนั่งพิจารณาคดี โดยได้รับฟังสรุปข้อเท็จจริงของ
ตุลาการเจ้าของสำนวน คำแถลงด้วยวาจาของผู้รับมอบอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการ ก.พ.) ประกอบคำแถลงเป็นหนังสือที่ยื่นต่อศาล
และคำชี้แจงด้วยวาจาประกอบคำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดี

ศาลปกครองสูงสุดได้ตรวจพิจารณาเอกสารทั้งหมดในสำนวนคดี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว

/เห็นชอบและ…

ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ต่อมาคณะรัฐมนตรีโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ จากนั้น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) แจ้งว่าสำนักนายกรัฐมนตรี
มีตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่ง
เลขที่ ๖ ว่างอยู่ เห็นควรให้ความเห็นชอบและยินยอมการรับโอนผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว และดำเนินการขอทาบทามขอรับความเห็นชอบและยินยอมการโอนผู้ฟ้องคดี
จากรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ของหน่วยงานที่ผู้ฟ้องคดีสังกัดอยู่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา) ได้เห็นชอบการรับโอนผู้ฟ้องคดีในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ตามที่เสนอ โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔
ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท) แจ้งว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เห็นชอบและมีความประสงค์จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี
ได้ลงนามเห็นชอบการให้โอนผู้ฟ้องคดีในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๒ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔
ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระทราบจรในวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ ต่อมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๕๐๘/๑๘๖๑๔ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูล
เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๔๐๒
ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ฟ้องคดีทราบ ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องทุกข์เป็นหนังสือลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งต่อมาได้มีประกาศ
สำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
และต่อมาได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ให้พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ให้พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
พ้นจากตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ตามลำดับ

/โดยไม่เป็นกลาง…

สำหรับการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มี
คำวินิจฉัยให้ยกคำร้องทุกข์ และได้แจ้งผลคำวินิจฉัยร้องทุกข์ให้ผู้ฟ้องคดีทราบตามหนังสือ
ที่ นร ๑๐๑๐.๓.๒.๒/๔๑ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำวินิจฉัยของ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการพิจารณาทางปกครอง
โดยไม่เป็นกลาง กระบวนการโอนย้ายผู้ฟ้องคดีซึ่งกระทำโดยฝ่ายการเมือง ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง กลั่นแกล้ง ลดบทบาทหน้าที่และศักดิ์ศรีในทางราชการของ
ผู้ฟ้องคดี เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ส่วนที่ ๒ ที่ว่าด้วย
การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามมาตรา ๒๖๖ ประกอบมาตรา ๒๖๘ และขัดต่อระบบคุณธรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มิได้เป็นกลางทางการเมืองตามนัยมาตรา ๔๒ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับ
ความเสียหาย จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งต่อมาศาลปกครองชั้นต้น
มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งและประกาศฉบับดังกล่าวมีผลบังคับ กับเพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยก
คำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด

/นายกรัฐมนตรี…

ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาคำฟ้องและคำขอคำบังคับท้ายคำฟ้องของ
ผู้ฟ้องคดีแล้ว เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีบรรยายฟ้องว่าตนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดี
ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และจากการโอนผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่าการโอนผู้ฟ้องคดีดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นคำร้องทุกข์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
มีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น
โดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ๒ ประการ คือ (๑) เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ (๒) เพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า แม้ว่าผู้ฟ้องคดีจะมีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่ง
สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมิได้มีคำขอโดยชัดแจ้งให้ศาลเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดี
พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมาด้วยก็ตาม ซึ่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นเพียงคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีเท่านั้นโดยคำสั่งดังกล่าวมิได้มีผลทำให้ผู้ฟ้องคดี
พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ในเมื่อศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่า ผู้ฟ้องคดีมีความมุ่งหมายที่จะขอให้ศาลเยียวยา
ความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดีโดยการให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติตามเดิม จึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์ให้ศาล
มีคำบังคับให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติและแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีด้วย ซึ่งศาลปกครองชั้นต้น
ได้พิจารณาคดีนี้แล้ว มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการกระทำพิพาท ๓ ประการ ดังต่อไปนี้
(๑) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (๒) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ (๓) คำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา
ของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด แต่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
มิได้ยื่นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงเหลือการกระทำพิพาทที่ศาลปกครองสูงสุดจะต้องพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายในชั้นอุทธรณ์เพียง ๒ ประการ คือ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔

คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์เพียง ๒ ประเด็น คือ

ประเด็นที่หนึ่ง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

/สำหรับประเด็น…

ประเด็นที่สอง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นคำสั่ง
ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

สำหรับประเด็นที่หนึ่ง พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการ
ที่สำนักนายกรัฐมนตรีนั้นมีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติและให้ไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ แต่ต่อมาได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวจึงสิ้นผลไปโดยปริยายโดยผลของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และเป็นกรณีที่
สิ้นผลลงก่อนที่ผู้ฟ้องคดีได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ในเมื่อคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวได้สิ้นผลไปแล้ว ศาลปกครองจึงไม่จำต้องออกคำบังคับให้เพิกถอนคำสั่ง
สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุด
จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว

สำหรับประเด็นที่สองที่ว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและแต่งตั้งให้
ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ผู้ฟ้องคดีอ้างเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการโอนผู้ฟ้องคดีไว้ ๓ ประการ คือ

ประการที่หนึ่ง ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระบวนการโอน
ผู้ฟ้องคดีมีการเร่งรัดดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเท่ากับว่า
ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งการกระทำพิพาทว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจาก
กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

/ที่ไม่ชอบด้วย…

ประการที่สอง การโอนผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิได้เป็นการพิจารณาอย่างรอบด้าน ซึ่งเท่ากับว่าผู้ฟ้องคดีโต้แย้งการกระทำพิพาทว่าเป็นการกระทำ
ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน

ประการที่สาม การมีคำสั่งดังกล่าวมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยมิได้มีข้อบกพร่องและไม่ได้มีความผิดใดๆ เหตุผลในการโอนย้ายผู้ฟ้องคดีที่แท้จริง
ก็เพื่อต้องการให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และแต่งตั้งพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้นมาดำรงตำแหน่งแทน
ผู้ฟ้องคดี เพื่อให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่างลงและสามารถแต่งตั้งพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อันเป็นการโต้แย้งการกระทำพิพาทว่าเป็นการใช้อำนาจโดยบิดเบือนอำนาจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างอื่นนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อำนาจไว้
ซึ่งเท่ากับว่าผู้ฟ้องคดีโต้แย้งการกระทำพิพาทว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากกระทำโดยไม่สุจริตตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีพิพาท
มีเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายในสองประการแรก ซึ่งเพียงพอที่จะให้ศาลเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวได้แล้ว ศาลปกครองชั้นต้นจึงมิได้วินิจฉัยเหตุแห่งความไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายในประการที่สาม ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของ
ศาลปกครองชั้นต้นโดยโต้แย้งว่าประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีพิพาทมิได้มีเหตุแห่งความ
ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสองประการตามที่ศาลปกครองชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้ ดังนั้น คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยมีประเด็นย่อยที่ต้องวินิจฉัย ๒ ประเด็นย่อย ดังนี้

/ประเด็นย่อยที่สอง…

ประเด็นย่อยที่หนึ่ง การโอนผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้กระทำโดยถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นแล้ว หรือไม่

ประเด็นย่อยที่สอง การโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นการใช้ดุลพินิจ
ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

/สำนักงาน…

สำหรับประเด็นย่อยที่หนึ่งที่ว่า การโอนผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้กระทำโดยถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นแล้ว หรือไม่นั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญ
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ซึ่งในระหว่างที่ยังมิได้มีการออกกฎ ก.พ. ตามมาตรานี้ ก.พ. ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๗ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน กำหนดหลักเกณฑ์การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อใช้ปฏิบัติตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ซึ่งข้อ ๓ กำหนดว่า การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
และระดับสูง ประเภทอำนวยการระดับสูง ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ และประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ
พลเรือนสามัญในส่วนราชการระดับกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งสังกัดส่วนราชการระดับกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ
ในกรมหรือต่างส่วนราชการระดับกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชา
หรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ในกระทรวงเดียวกัน อาจทำได้เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม สำหรับการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และประเภทวิชาการ
ระดับทรงคุณวุฒิ ให้ทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า การโอนผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไปดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สังกัด
สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ซึ่งสังกัดส่วนราชการระดับกรมตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีโดยอยู่ในกระทรวงเดียวกัน การโอนดังกล่าวจึงอาจทำได้
เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว และให้ทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๑) บัญญัติให้การแต่งตั้ง
ข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา ๖๓ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๒) บัญญัติให้การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง…หรือตำแหน่งอื่น
ที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา
หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมดังกล่าวเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔๑/๒๕๕๔ เรื่อง มอบหมายและ
มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการ
แทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ มอบหมายและมอบอำนาจให้
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนในงานของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และมอบหมายและ
มอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนในงานของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อพิจารณาจากคำสั่งมอบ

/พลเรือนสามัญ…

อำนาจดังกล่าว ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งที่ต้องให้ความยินยอมในการให้โอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ จึงได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี
(พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ตามมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้จะเป็นตำแหน่ง
ที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง แต่ก็อยู่ในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงได้แก่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมตามมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่า เลขาธิการนายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
และแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำ ได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔
ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) ระบุว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีอัตราตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
(นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ ๖ ว่างอยู่ และมีความประสงค์ที่จะขอรับโอนผู้ฟ้องคดี
มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จึงเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินการขอรับ
ความเห็นชอบและยินยอมจากรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติให้โอนผู้ฟ้องคดี จากนั้น
เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ในวันเดียวกัน ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เพื่อให้ความเห็นชอบและยินยอมการให้โอนผู้ฟ้องคดี ซึ่งพลตำรวจเอก โกวิท ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายคือ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและ
รองนายกรัฐมนตรีได้ตกลงยินยอมในการให้โอนและรับโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ในส่วนของการตกลงยินยอมในการโอนแล้ว จากนั้น นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๒ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอให้นำเสนอเรื่องการโอน

/แห่งพระราชบัญญัติ…

ผู้ฟ้องคดีให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามนัยมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๒)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ
เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็ได้ขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไปแล้ว กรณีจะเห็นได้ว่า การโอนผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการดำเนินการที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่าย ซึ่งได้แก่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก
โกวิท วัฒนะ) ได้ตกลงยินยอมในการโอน และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วตามนัยมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ประกอบมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และข้อ ๓ ของหนังสือสำนักงาน ก.พ.
ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงเห็นว่า
การดำเนินการเพื่อแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นการดำเนินการที่ได้กระทำ
โดยถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นแล้ว

/(นางสาวกฤษณา…

ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีได้อ้างไว้ในคำฟ้องว่า ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์)
ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการรับโอนผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ภายหลังจากที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๓๐๓ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ไปถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เพื่อเสนอขอความเห็นชอบให้ยินยอมให้โอนผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อันมิได้เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
และเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าและเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเร็ว ซึ่งในประเด็นนี้ ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่า การกระทำในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการอย่างเร่งรีบ
ผิดสังเกต ไม่เป็นไปตามขั้นตอนการโอนในการปฏิบัติราชการตามปกติ จึงเป็นการกระทำ
ที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนด นั้น
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์) ได้ให้ความเห็นชอบการรับโอนผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ภายหลังจากที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรองนายกรัฐมนตรี
(พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เพื่อให้ความเห็นชอบและยินยอมการให้โอนผู้ฟ้องคดี
มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำก็ตาม แต่โดยที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมิใช่ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
ตามนัยมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ การกระทำของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวจึงเป็นเพียงการ
ให้ความเห็นชอบในเบื้องต้นตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานเสนอตามสายการบังคับบัญชา และในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ต้องนำเรื่องการโอนผู้ฟ้องคดีเสนอให้คณะรัฐมนตรี
พิจารณาอนุมัติ การกระทำดังกล่าวจึงมิใช่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตกลงยินยอมรับโอนผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด อันจะมีผลให้การมีคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในกรณีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีในประเด็นนี้จึงไม่อาจรับฟังได้

/ของนโยบายต่างๆ…

/ศาลปกครอง…

สำหรับประเด็นย่อยที่สองที่ว่า การโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นตามอุทธรณ์
ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่า ศาลปกครองมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของ
ฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคลได้หรือไม่ เพียงใด ทั้งนี้ เนื่องจาก
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้กล่าวไว้ในคำอุทธรณ์ในประเด็นนี้ว่า ศาลปกครองชั้นต้นได้วินิจฉัย
ล่วงล้ำเข้าไปถึงการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในการมอบหมายงาน
ย่อมจะเป็นการกระทบกระเทือนกับความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาชนให้เป็นผู้นำฝ่ายบริหาร เนื่องจากนโยบายด้านความมั่นคงแห่งรัฐเป็นนโยบายสำคัญที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แถลงต่อรัฐสภา จึงเป็นหน้าที่ของ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการที่จะกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างๆ ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งรวมทั้งยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างๆ ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งรวมทั้งยุทธศาสตร์ด้านการบริหารบุคคลด้วย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาคำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในส่วนนี้แล้ว เห็นว่า
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีความเข้าใจว่าเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาชน
ให้เป็นผู้นำของฝ่ายบริหารได้แถลงนโยบายต่างๆ ต่อรัฐสภาไว้อย่างไรแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างๆ ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งรวมทั้งยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงานบุคคลด้วย และในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการต่างๆ ย่อมมีอำนาจดุลพินิจในการมอบหมายงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและย่อมมีอำนาจดุลพินิจในด้านการบริหารงานบุคคลในอันที่จะแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นได้รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาและได้เข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในคดีนี้ แล้วมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งพิพาทของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเห็นว่าศาลปกครองชั้นต้นได้ล่วงล้ำเข้าไปถึงการใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
จึงเท่ากับเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นในประเด็นที่ว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคล คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า
ศาลปกครองมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคลได้หรือไม่ เพียงใด

/ระดับกรม…

/มีกฎหมายบัญญัติ…

พิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและ
ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการประจำของราชการส่วนกลางและราชการ
ส่วนภูมิภาคจะมีอำนาจดุลพินิจในการบริหารงานบุคคลในอันที่จะหมุนเวียน สับเปลี่ยนบทบาทหรือการทำหน้าที่ของข้าราชการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามแนวนโยบายที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา และแม้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
ส่วนราชการที่ปฏิบัติราชการรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงของประเทศจะต้องเป็น
ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่าจะสามารถปฏิบัติตามนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม แต่การใช้อำนาจดุลพินิจดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นอกจากจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายและอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายอีกด้วย นอกจากนี้ การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการโอนผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือระดับกระทรวงไปดำรงตำแหน่งอื่น ก็จะต้องมีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวด้วย ซึ่งศาลปกครองย่อมไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปควบคุมการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารในแง่ของความเหมาะสมของการบริหารงานบุคคลให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลได้ แต่ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจ
ดุลพินิจของฝ่ายบริหารในแง่ของความชอบด้วยกฎหมายได้ ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพต่างๆ
ของชนชาวไทยไว้ในหมวด ๓ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ว่า การใช้อำนาจโดยองค์กร
ของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา ๒๗ บัญญัติว่า สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้
โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครอง
และผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง
มาตรา ๒๘ วรรคสอง บัญญัติว่า บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นต่อสู้คดีในศาลได้ มาตรา ๒๘ วรรคสาม บัญญัติว่า บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใด
มีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่งบัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้
เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ มาตรา ๓๑ บัญญัติว่า บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๒๒ บัญญัติว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่

/นายกรัฐมนตรี…

กำหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๓ วรรคสอง บัญญัติให้การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่
หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง
บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน
ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) มาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจาก
การกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมี
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมี
คำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

/ไม่ชอบด้วย…

/หรือพยานหลักฐาน…

จากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าในเมื่อผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติต่อตนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และได้ใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำวินิจฉัยยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากคำสั่งพิพาทของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และจากคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคำสั่งพิพาทของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มาฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยผู้ฟ้องคดีอ้างเหตุ
แห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไว้ ๓ ประการ คือ ประการที่หนึ่ง คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ประการที่สอง คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ และประการที่สาม คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กระทำโดยไม่สุจริต ซึ่งเหตุแห่งความ
ไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทั้ง ๓ ประการ ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุ
แห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการกระทำพิพาทตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้
จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา ๙
วรรคหนึ่ง (๑) ประกอบกับมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
และในเมื่อผู้ฟ้องคดีฟ้องโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งพิพาทของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยอ้างเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายในประการที่สองว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ศาลปกครองจึงมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งพิพาทของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ว่า ในการออกคำสั่งดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ใช้อำนาจดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีการฟ้องคดีโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำพิพาทของฝ่ายบริหารว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่า
ศาลปกครองมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารได้เพียงใด
และอย่างไร พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ในมาตรา ๕๕ วรรคสาม แต่เพียงว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลปกครองอาจตรวจสอบและแสวงหาข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสม ในการนี้ ศาลปกครองจะรับฟังพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานผู้เชี่ยวชาญ
หรือพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือจากพยานหลักฐานของคู่กรณีได้ตามที่เห็นสมควร โดยมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า… การดำเนินกระบวนพิจารณา การรับฟังพยานหลักฐาน
และการพิพากษาคดีปกครอง นอกจากที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้มีการออกระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยมีการกำหนดไว้ในข้อ ๕ วรรคหนึ่งว่า วิธีพิจารณา
คดีปกครองเป็นวิธีพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย
การจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองและระเบียบนี้ และกำหนดไว้ในข้อ ๕ วรรคสองว่า ในกรณีที่กฎหมายและระเบียบตามวรรคหนึ่งมิได้กำหนดเรื่องใด
ไว้โดยเฉพาะ ให้ดำเนินการตามหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในเมื่อทั้งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓

/ของการกระทำ…

ต่างก็มิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมาย
ของการกระทำพิพาทของฝ่ายบริหารว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ศาลปกครองมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารได้เพียงใดและอย่างไร กรณีจึงต้องตามข้อ ๕ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่กำหนดไว้ว่าให้ดำเนินการตามหลักกฎหมายทั่วไป
ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองที่มีการฟ้องโต้แย้งการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารนั้น
มีข้อพิจารณาอยู่ ๓ ประการ ดังนี้

/โดยใช้ถ้อยคำ…

ข้อพิจารณาประการที่หนึ่งมีอยู่ว่า ในการปฏิบัติตามภารกิจต่างๆ ของรัฐ
ในการบังคับใช้กฎหมายและในการจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ
ฝ่ายบริหารนั้น รัฐโดยฝ่ายนิติบัญญัติมีความจำเป็นต้องตรากฎหมายมอบอำนาจในการดำเนินงานต่างๆ ให้แก่ฝ่ายบริหารมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างบทบัญญัติของกฎหมายสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน คือ โครงสร้างส่วนที่เป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารหรือที่เรียกกันว่า องค์ประกอบส่วนเหตุ และโครงสร้างส่วนที่เป็นผลหรือที่เรียกกันว่าผลในทางกฎหมาย โดยโครงสร้างทั้งสองส่วนจะมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบส่วนเหตุเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดผลในทางกฎหมายตามมา ซึ่งอำนาจที่กฎหมายมอบให้แก่ฝ่ายบริหารนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
คือ อำนาจผูกพันและอำนาจดุลพินิจ อำนาจผูกพันนั้นหมายถึงอำนาจที่กฎหมายมอบให้แก่ฝ่ายบริหารโดยกฎหมายกำหนดผลทางกฎหมายไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดตามโครงสร้างบทบัญญัติของกฎหมายที่องค์ประกอบส่วนเหตุเกิดขึ้น ฝ่ายบริหาร
มีหน้าที่ต้องออกคำสั่งและต้องออกคำสั่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้ล่วงหน้าเท่านั้น โดยฝ่ายบริหารไม่มีเสรีภาพที่จะเลือกมาตรการอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เช่น กฎหมายกำหนดว่า ถ้าเอกชนดำเนินการขอจดทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่กฎหมายกำหนดไว้โดยครบถ้วนแล้ว ผลในทางกฎหมายที่ตามมาก็คือ ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องรับจดทะเบียนให้แก่เอกชน โดยกฎหมายมิได้ให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจหรือทางเลือกประการอื่นที่จะสามารถดำเนินการได้ ส่วนอำนาจดุลพินิจนั้นหมายถึงอำนาจที่กฎหมายมอบให้ฝ่ายบริหารสามารถตัดสินใจได้ว่าเมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกิดขึ้นแล้ว ฝ่ายบริหารจะสมควรออกคำสั่งหรือไม่ และถ้าเห็นสมควรออกคำสั่ง ฝ่ายบริหารก็สามารถเลือกได้ว่าจะออกคำสั่งโดยมีเนื้อความอย่างไร ซึ่งกฎหมายอาจบัญญัติให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจดุลพินิจในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนขององค์ประกอบส่วนเหตุโดยใช้ถ้อยคำทางกฎหมายที่มิได้มีการให้คำนิยามไว้เป็นการเฉพาะและเป็นถ้อยคำ
ที่มีความหมายไม่เฉพาะเจาะจงซึ่งวิญญูชนอาจเข้าใจความหมายที่แตกต่างกันได้ เช่น ผู้สมัครเข้ารับราชการมีสภาพทางกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการ
หรือข้าราชการได้กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหรือไม่ เป็นต้น
ซึ่งในการปรับใช้กฎหมายที่มีการใช้ถ้อยคำทางกฎหมายที่มีความหมายไม่เฉพาะเจาะจงเช่นนี้ กฎหมายอาจบัญญัติให้ฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายดังกล่าวมีอำนาจดุลพินิจ
ในการวินิจฉัยได้ว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีหนึ่งกรณีใดเป็นข้อเท็จจริงที่กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดไว้ให้เป็นเงื่อนไขในการที่ฝ่ายบริหารจะใช้อำนาจตามที่กฎหมาย
ได้ให้อำนาจไว้ได้ ซึ่งอำนาจดุลพินิจในส่วนนี้เรียกกันว่า ดุลพินิจวินิจฉัย นอกจากนี้ กฎหมายยังอาจบัญญัติให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจดุลพินิจในส่วนที่เป็นผลทางกฎหมายที่จะตัดสินใจได้ว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ใช้อำนาจตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อำนาจไว้ และถ้าจะใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎหมายก็อาจบัญญัติให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจที่จะเลือกใช้
มาตรการหนึ่งมาตรการใดในหลายๆ มาตรการที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ฝ่ายบริหารสามารถเลือกได้ โดยให้ฝ่ายบริหารพิจารณาจากข้อเท็จจริง สถานการณ์ เหตุผลและความจำเป็น
ในแต่ละกรณี เช่น ในการลงโทษข้าราชการที่ได้กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชามีอำนาจดุลพินิจในการสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด เป็นต้น ซึ่งอำนาจดุลพินิจในส่วนนี้
เรียกกันว่า ดุลพินิจตัดสินใจ

/เข้าไปควบคุม…

ข้อพิจารณาประการที่สองมีอยู่ว่า ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมาย
มอบอำนาจดุลพินิจให้แก่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารจะต้องใช้อำนาจดุลพินิจนั้นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายในการมอบอำนาจดังกล่าวและการใช้อำนาจดุลพินิจนั้นจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายดังกล่าว การที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจดุลพินิจแก่ฝ่ายบริหาร มิได้หมายความว่า ฝ่ายบริหารจะสามารถใช้อำนาจดุลพินิจนั้นอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจของ
ฝ่ายบริหาร ในกรณีที่การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารไปกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการใช้อำนาจ
ของฝ่ายบริหารย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของ
การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารได้เพื่อให้ศาลปกครองตรวจสอบการใช้อำนาจดังกล่าวของ
ฝ่ายบริหารว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และในกรณีที่มีการฟ้องคดีโต้แย้งการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหาร ศาลปกครองมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารได้เฉพาะในแง่ของความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ศาลปกครองจะไม่ก้าวล่วงเข้าไปควบคุมการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารในแง่ของความเหมาะสม ซึ่งการที่
ศาลปกครองจะเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายในการมอบอำนาจดังกล่าวหรือไม่ และการใช้อำนาจดุลพินิจนั้นอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ นั้น ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบได้ว่า ในการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารนั้น ฝ่ายบริหารมีเหตุผลรองรับหรือไม่ อย่างไร
ถ้าการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารไม่มีเหตุผลรองรับ การใช้อำนาจดุลพินิจนั้น
ย่อมไม่แตกต่างจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจที่ไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลหรือให้คำอธิบาย
ต่อผู้ใดว่าเหตุใดจึงใช้อำนาจไปเช่นนั้น ดังนั้น การใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหาร
โดยไม่มีเหตุผลรองรับจึงอาจเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้

/ผู้ใช้ผู้ตี…

ข้อพิจารณาประการที่สามมีอยู่ว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
โดยผู้ฟ้องคดีโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำพิพาทของฝ่ายบริหารว่าเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจโดยมิชอบนั้น ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบได้ว่ามีการให้เหตุผลรองรับการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารหรือไม่ อย่างไร โดยศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบเหตุผลที่ฝ่ายบริหารใช้อ้างอิงในการใช้อำนาจดุลพินิจได้ใน ๒ ส่วน คือ เหตุผล
ในส่วนที่เป็นข้อกฎหมายและเหตุผลในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง สำหรับเหตุผลในส่วนที่เป็น
ข้อกฎหมายนั้น ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบได้ว่า ฝ่ายบริหารมีความผิดพลาด
ในการบังคับใช้กฎหมายหรือไม่ โดยศาลย่อมมีอำนาจตรวจสอบได้ว่า มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจดุลพินิจแก่ฝ่ายบริหารจริงหรือไม่ ฝ่ายบริหารอ้างอิงบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจดุลพินิจแก่ฝ่ายบริหารผิดพลาดหรือไม่ และฝ่ายบริหารตีความและหรือปรับใช้บทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจดุลพินิจแก่ฝ่ายบริหารผิดพลาดหรือไม่
ส่วนเหตุผลในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงนั้น ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริง
ที่ฝ่ายบริหารนำมาอ้างเป็นเหตุผลในการใช้อำนาจดุลพินิจได้ว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่ ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ฝ่ายบริหารนำมาอ้างเป็นเหตุผลในการใช้อำนาจ
ว่าเป็นข้อเท็จจริงตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจในองค์ประกอบส่วนเหตุของบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่นั้น ศาลปกครองจะมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบ
ได้เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายว่ามีการใช้ถ้อยคำทางกฎหมายที่มีการ
ให้คำนิยามไว้เป็นการเฉพาะและหรือมีการใช้ถ้อยคำทางกฎหมายที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงหรือไม่ ถ้าบทบัญญัติของกฎหมายมีการใช้ถ้อยคำทางกฎหมาย
ที่มีความหมายไม่เฉพาะเจาะจงและเป็นความหมายทั่วไปซึ่งในการปรับใช้กฎหมายดังกล่าว ผู้ใช้ผู้ตีความถ้อยคำดังกล่าวไม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิควิชาการอื่นมาใช้ประกอบในการใช้และการตีความกฎหมาย เพียงแต่ผู้ใช้ผู้ตีความกฎหมายต้องใช้ดุลพินิจประกอบเพื่อเสริมความให้กฎหมายสมบูรณ์ขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และตามกาลสมัย เช่น มีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ กระทำการ
อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น กรณีเช่นนี้ ศาลปกครองย่อมมีอำนาจ
เข้าไปตรวจสอบดุลพินิจวินิจฉัยของฝ่ายบริหารได้ตามปกติ แต่ถ้าบทบัญญัติของกฎหมาย
มีการใช้ถ้อยคำทางกฎหมายที่มีความหมายเฉพาะทางวิชาการหรือเป็นถ้อยคำซึ่งผู้ใช้
ผู้ตีความไม่สามารถใช้ความรู้ความเข้าใจทั่วๆ ไป หรือไม่สามารถใช้เฉพาะความรู้
ทางกฎหมายมาใช้และตีความถ้อยคำดังกล่าวได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแขนงวิชานั้นๆ เป็นผู้ใช้และตีความถ้อยคำดังกล่าว เช่น มีสภาพหรือการใช้
ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ใช้ยา เป็นต้น กรณีเช่นนี้ การใช้การตีความถ้อยคำของกฎหมายจะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งศาลเองไม่มีความเชี่ยวชาญพิเศษนั้น จึงถือว่าเป็นดุลพินิจวินิจฉัยของฝ่ายบริหารที่ศาลปกครองจะจำกัดขอบเขตการเข้าไปตรวจสอบแต่เพียงว่าการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารนั้นมีความผิดพลาดอย่างชัดแจ้งที่วิญญูชนไม่พึงกระทำหรือไม่ นอกจากนี้ ศาลปกครองยังยอมรับว่าฝ่ายบริหารมีอำนาจดุลพินิจวินิจฉัยที่ศาลจะจำกัดขอบเขตการเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารว่า
มีความผิดพลาดอย่างชัดแจ้งที่วิญญูชนไม่พึงกระทำ ในคดีที่มีการฟ้องโต้แย้งประกาศ
ผลการสอบหรือการวัดผลความรู้หรือความสามารถของบุคคล หรือในคดีที่มีการฟ้องโต้แย้งประกาศผลการประเมินการปฏิบัติราชการเพื่อประเมินความรู้ความสามารถของข้าราชการโดยผู้บังคับบัญชา ซึ่งศาลไม่อยู่ในฐานะที่จะทำการตรวจข้อสอบและให้คะแนนแทน
ผู้ตรวจข้อสอบ หรือทำการประเมินผลการปฏิบัติราชการหรือประเมินความรู้ความสามารถของข้าราชการแทนผู้บังคับบัญชาได้

/สำหรับ…

จากข้อพิจารณาทั้งสามประการดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ศาลปกครอง
มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคลได้ตามหลักเกณฑ์และขอบเขตดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นโดยจะต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าได้บัญญัติให้อำนาจดุลพินิจแก่ฝ่ายบริหารไว้หรือไม่ อย่างไร

/สามัญจากกรม…

สำหรับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีก็คือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีการบัญญัติเรื่องการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญจากกรมหนึ่งไปยังอีกกรมหนึ่งไว้ในมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง ว่า
การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ซึ่งขณะนี้ยังมิได้มีการออกกฎ ก.พ. ตามมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
โดย ก.พ. ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๗ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันกำหนดหลักเกณฑ์การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไว้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ ๓ ว่าการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการระดับกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีในกระทรวงเดียวกันอาจทำได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว และให้ทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๓ นั้น มีการบัญญัติขั้นตอนและวิธีการไว้ในมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๒) ว่าการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับ
กรมดังกล่าวเป็นผู้สั่งบรรจุและให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และมาตรา ๕๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ให้รายงานความสมควร
พร้อมทั้งเหตุผล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย ซึ่งจากบทบัญญัติในมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่งและมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
พลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในส่วนของการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญจากกรมหนึ่งไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในอีกกรมหนึ่งนั้น มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่งมิได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการไว้โดยตรงโดยบัญญัติว่าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ซึ่งขณะนี้ ก.พ. ก็ยังมิได้ออกกฎ ก.พ. ตามมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง โดย ก.พ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไว้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ ๓ แต่เพียงว่า
การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการระดับกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ในกระทรวงเดียวกันอาจทำได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว และให้ทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ซึ่งเท่ากับว่า ก.พ. ได้กำหนดให้การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นอำนาจร่วมกันของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายหลังจากที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นการให้อำนาจดุลพินิจแก่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจ
สั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทั้งสองฝ่ายและคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๓ นั้น มีการบัญญัติหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้อำนาจของผู้ทรงอำนาจตามมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๒) ไว้ในมาตรา ๕๗ วรรคสองว่า ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ให้รายงานความสมควร พร้อมทั้งเหตุผล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย ซึ่งการที่มาตรา ๕๗ วรรคสองบัญญัติให้มีการรายงานความสมควร พร้อมทั้งเหตุผลในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งไปด้วยนั้น แสดงให้เห็นว่ามาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๒) บัญญัติให้เป็นอำนาจดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัด และคณะรัฐมนตรี โดยมีการกำหนดเป็นเงื่อนไขเอาไว้ว่า จะต้องมีการรายงานความสมควร พร้อมทั้งเหตุผลในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย แต่โดยที่ขณะนี้ ก.พ. ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเสนอตามมาตรา ๕๗ วรรคสองเอาไว้ กรณีจึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติและวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่ามีการกำหนดขอบเขตของการใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญไว้อย่างไร ซึ่งปรากฏว่า มีการบัญญัติไว้ใน

/และแต่งตั้ง…

มาตรา ๕๒ ว่า การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรม
ทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนด
ในหมวดนี้ ซึ่งระบบคุณธรรมนั้น มาตรา ๔๒ บัญญัติว่า การจัดระเบียบข้าราชการ
พลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้ (๑) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ (๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการ ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ (๔) การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ (๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
กรณีจึงสรุปได้ว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กำหนดขอบเขตของการใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการ
พลเรือนสามัญไว้ในมาตรา ๕๒ ว่า จะต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๒ และคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ และเพื่อให้การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่งเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจที่มีเหตุผลรองรับเพื่อมิให้เป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ จึงได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ วรรคสองว่า ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ให้รายงานความสมควร พร้อมทั้งเหตุผล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารนั้นจะต้องมีเหตุผลรองรับ ซึ่งหลักการที่ว่าการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารจะต้องมีเหตุผลรองรับนั้นได้มีการนำมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานกลางในการใช้อำนาจทางปกครองขององค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง โดยมีการบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่งว่า
คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้
มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
(๒) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

/อย่างน้อย…

การใช้อำนาจดุลพินิจในการทำคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือนั้น ต้องจัดให้มีเหตุผลและเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสาระสำคัญทั้ง ๓ ประการดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งข้อเท็จจริง
ในคดีนี้ปรากฏว่า ในการพิจารณาโอนผู้ฟ้องคดีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นั้น ไม่ปรากฏว่าได้มีการเสนอหรือแสดงถึงเหตุผลในการโอนผู้ฟ้องคดีไว้โดยชัดแจ้ง โดยปรากฏเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรในคำสั่งที่ทำเป็นหนังสือเพียงเท่าที่ระบุไว้ในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔
เรื่อง ให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ โดยระบุเหตุผล
ไว้กว้างๆ แต่เพียงว่า เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ของทางราชการ ซึ่งคำสั่งดังกล่าว
เป็นเพียงการสั่งให้ผู้ฟ้องคดีมาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว
ในระหว่างรอการดำเนินการโอนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง (๑)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ จากข้อเท็จจริงดังกล่าว
จึงต้องถือว่าในการดำเนินกระบวนการโอนผู้ฟ้องคดีมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ในชั้นการเสนอผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งของทั้งสองฝ่ายให้ตกลงยินยอมการโอน จนถึงในชั้นเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัตินั้น ไม่ปรากฏว่าได้มีการรายงานความสมควร พร้อมทั้งเหตุผลประกอบตามมาตรา ๕๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ศาลปกครองสูงสุดจึงรับฟังข้อเท็จจริงว่า การใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารตามกฎหมายในการโอนผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ในชั้นการเสนอผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งของทั้งสองฝ่ายให้ตกลงยินยอมการโอนจนถึงในชั้นการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติมิได้มีการ
ให้เหตุผลของการโอนผู้ฟ้องคดี

/ที่เหมาะสม…

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ฟ้องคดีได้นำเรื่องนี้ไปยื่นคำร้องทุกข์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็ได้อ้างเหตุผลของการมีคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีไว้ในคำแก้คำร้องทุกข์
และเมื่อผู้ฟ้องคดีนำเรื่องนี้มาฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็ได้
อ้างเหตุผลของการมีคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีไว้ในคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ได้ยื่นต่อ
ศาลปกครองชั้นต้นพอสรุปได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ได้แถลงนโยบายในการบริหารประเทศต่อรัฐสภา โดยนโยบายความมั่นคงของรัฐถือเป็นนโยบายเร่งด่วน
ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แถลงต่อรัฐสภาว่าจะต้องเร่งดำเนินการภายในปีแรกของการเข้าบริหารราชการแผ่นดินและเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์
ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายตามที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ยาวนานในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความมั่นคงเพื่อมาช่วยปฏิบัติราชการในฝ่ายนโยบายให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของงานด้านความมั่นคงของประเทศ และเห็นว่าผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามความต้องการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีจึงมีหนังสือ ลับมาก ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๒๔๑๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เสนอขอความเห็นชอบให้โอนผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงได้ว่าเหตุผลดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้นำมาอ้างในภายหลังจากที่ได้มีการโอน
ผู้ฟ้องคดีแล้วนั้น เป็นไปตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กล่าวอ้าง หรือไม่

/และการจัด…

พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๗ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า สำนักนายกรัฐมนตรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้…วรรคสอง บัญญัติว่า ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
(๔) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี… (๘) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ…
จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ทั้งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงาน
สภาความมั่นคงแห่งชาติต่างก็เป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและเป็น
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี… พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๗ บัญญัติว่า ให้มีสำนักงาน
สภาความมั่นคงแห่งชาติมีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามมติของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และให้มีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ…
โดยกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๒ กำหนดว่า ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศโดยเป็นที่ปรึกษา เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางปฏิบัติด้านความมั่นคงของชาติ อำนวยการ ประสานงานให้เป็นไปตามนโยบาย รวมทั้งการจัดทำแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ป้องกันและแก้ปัญหาด้านความมั่นคงในอนาคต ตลอดจนการพัฒนา
และการจัดองค์ความรู้ความมั่นคงที่มีคุณภาพ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒) เสนอความเห็น
ต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์หรือแผนงานและการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ (๓) อำนวยการและประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันและมีบูรณาการ (๔) ศึกษา วิจัย พัฒนา ติดตามสถานการณ์ความมั่นคง และประเมินการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ และสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง
ในเชิงยุทธศาสตร์ (๕) เสนอแนะและจัดทำนโยบาย อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ
ติดตาม ประเมินผล และพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์และแผนงาน
ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติทั้งในด้านความมั่นคงภายในประเทศ ความมั่นคงในภูมิภาค
และความมั่นคงระหว่างประเทศครอบคลุมถึงภัยคุกคามความมั่นคงภายใน ภัยคุกคามข้ามชาติ ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ รวมทั้งการป้องกันประเทศและการเตรียมพร้อมแห่งชาติ
การอำนวยการข่าวกรอง การจัดการความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน ตลอดจนการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ และเสนอความเห็นต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี (๖) ติดตาม ประเมินผล และรายงานการปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติและนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสภา
ความมั่นคงแห่งชาติ หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาตินั้นเป็นตำแหน่งที่ขึ้นตรงต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และมีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศ โดยเป็นที่ปรึกษา เสนอแนะนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้านความมั่นคงแห่งชาติต่อสภา
ความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จึงสามารถเสนอแนะนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้โดยตรงอยู่แล้ว ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นั้น เป็นตำแหน่งที่
ก.พ. กำหนดขึ้น โดย ก.พ. ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามลักษณะงานของ
ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีไว้ ดังนี้ (๑) ให้คำปรึกษา เสนอแนะความเห็น
เกี่ยวกับนโยบายด้านความมั่นคงให้แก่นายกรัฐมนตรี (๒) ให้คำปรึกษาการกำหนด
แนวทางและการประสานงาน ท่าทีกลยุทธ์ด้านความมั่นคงให้แก่นายกรัฐมนตรี
(๓) เร่งรัด ติดตาม และวิเคราะห์หาข้อสรุปเกี่ยวกับนโยบายสำคัญเร่งด่วนในด้านความ

/เพื่อสนับสนุน…

มั่นคงตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี (๔) ประสานงานกับส่วนราชการหรือภาคเอกชน
เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคง และ (๕) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งข้าราชการประจำที่ ก.พ. ได้กำหนดไว้ในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จึงอยู่ใต้บังคับบัญชาของเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และการปฏิบัติราชการของผู้ดำรงตำแหน่งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการมอบหมายของผู้บังคับบัญชา และผู้ดำรงตำแหน่งนี้ไม่อาจเสนอแนะนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้โดยตรง แต่จะต้องเสนอผ่านเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ให้ผู้ฟ้องคดี
มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๔๐๑.๒/๘๔๗๙ ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงผู้ฟ้องคดี
แจ้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีบัญชามอบหมายงานให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติราชการประจำ
รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงของประเทศในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ โดยผู้ฟ้องคดีอ้างในคำฟ้องว่า ตั้งแต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
มิได้มอบหมายงานให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติตามที่ได้อ้างถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่งดังกล่าวแต่อย่างใด

/มีข้อบกพร่อง…

จากข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ศาลได้ตรวจสอบดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงฟังได้ว่า เหตุผลของการมีคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อ้างไว้ในคำให้การที่
ได้ยื่นต่อศาลปกครองชั้นต้น และที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อ้างเพิ่มเติมในคำอุทธรณ์และ
คำชี้แจงที่ได้ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด นั้น มิได้เป็นไปตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กล่าวอ้าง
โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการประจำของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค ย่อมมีอำนาจดุลพินิจในการบริหารงานบุคคลหมุนเวียนสับเปลี่ยนบทบาทหรือการทำหน้าที่ของข้าราชการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามแนวนโยบายที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาได้ แต่ในการใช้อำนาจดุลพินิจดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายและอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายแล้ว
ยังจะต้องมีเหตุผลรองรับที่มีอยู่จริงและอธิบายได้ ซึ่งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑
ได้อ้างเหตุผลในการโอนผู้ฟ้องคดีว่าผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีประสิทธิภาพ
มีข้อบกพร่องหรือไม่สนองนโยบายของรัฐบาลซึ่งจะถือได้ว่ามีเหตุผลอันสมควร
ที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งโอนได้ตามความเหมาะสม จึงถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจ
โดยมิชอบ อันเป็นเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายประการหนึ่งตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น การโอนผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

/พิพากษา…

ที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งและประกาศ
ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับ กับเพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกคำร้องทุกข์ของ
ผู้ฟ้องคดี โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามนัยมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คือ เมื่อคำสั่งพิพาทถูกศาลเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังดังกล่าว ย่อมมีผลทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีมิได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเร็ว นั้น ศาลปกครองสูงสุด
โดยที่ประชุมใหญ่พิเคราะห์แล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายที่
ผู้ฟ้องคดีได้รับจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ จึงให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ คือ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามนัย
มาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ควรที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ฟ้องคดี
ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่
มีคำพิพากษา

พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้เพิกถอนเฉพาะ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้การเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ คือ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการ
ให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามนัยมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ควรที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้กลับสู่ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา

นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ตุลาการเจ้าของสำนวน

ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด

นายนพดล เฮงเจริญ

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายประวิตร บุญเทียม

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายสมชัย วัฒนการุณ

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

ตุลาการผู้แถลงคดี : นายอาจินต์ ฟักทองพรรณ

มีความเห็นแย้ง

/ความเห็นแย้ง…

clip_image006 ความเห็นแย้ง คดีหมายเลขดำที่ อ. ๙๙๒/๒๕๕๖

ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย ประกอบด้วย นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุดและตุลาการเจ้าของสำนวน นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด นายวิษณุ วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด นายนพดล เฮงเจริญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายประวิตร บุญเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
และนายสมชัย วัฒนการุณ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ไม่เห็นพ้องด้วยกับมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมากดังกล่าวข้างต้น แต่เห็นพ้องด้วยกับร่าง
คำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ ๓ จึงขอทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

๑. สรุปผลการพิจารณาพิพากษาคดีและการกำหนดคำบังคับที่แตกต่างกันระหว่างศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ ๓ ประธานศาลปกครองสูงสุด และมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมาก

๑.๑ คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น

/๑.๒ ร่างคำพิพากษา

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาว่า คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และคำวินิจฉัยร้องทุกข์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
ที่ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่ง
สำนักนายกรัฐมนตรีฯ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยกำหนดให้การเพิกถอน
มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งและประกาศดังกล่าวมีผลบังคับ กับให้เพิกถอนคำวินิจฉัย
ร้องทุกข์ฯ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คือ เมื่อคำสั่งพิพาทถูกศาลเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังดังกล่าว ย่อมมีผลทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีมิได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเร็ว

๑.๒ ร่างคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ ๓

/ย้อนหลัง…

โดยที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มิได้ยื่นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงเหลือการกระทำทางปกครองพิพาทที่ศาลปกครองสูงสุดจะต้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในชั้นอุทธรณ์เพียง ๒ ประการ คือ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ ๓ เห็นว่า คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ได้สิ้นผลไปโดยปริยายโดยผลของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และเป็นกรณีที่คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ได้สิ้นผลลงก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ในเมื่อคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ได้สิ้นผลไปแล้ว ศาลปกครองจึงไม่จำต้องออกคำบังคับให้
เพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฯ อีกต่อไป ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กรณีจึงเหลือแต่เพียงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ที่ศาลปกครองสูงสุดจะต้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นได้พิพากษาว่า การโอนผู้ฟ้องคดีมีความไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการโอนผู้ฟ้องคดีเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพิพากษาให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ มีผลใช้บังคับ แต่ศาลปกครองสูงสุดได้ตรวจสอบการโอนผู้ฟ้องคดีแล้ว มีความเห็นแตกต่างจาก
ศาลปกครองชั้นต้นในส่วนของเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายประการแรก โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเห็นด้วยกับ
ศาลปกครองชั้นต้นในส่วนของเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายประการที่สองว่า การโอนผู้ฟ้องคดีเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่มีเหตุผลทางกฎหมายที่แตกต่างจาก
ศาลปกครองชั้นต้นในบางประการ ซึ่งในเมื่อศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าประกาศ
สำนักนายกรัฐมนตรีฯ มีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดก็มีอำนาจตาม
มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดีได้โดยการออกคำบังคับด้วยการสั่งให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ส่วนการกำหนด
คำบังคับว่าการเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ จะให้มีผลตั้งแต่เมื่อใดนั้น มาตรา ๗๒
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในการมีคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งได้ หรือจะกำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณี ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้เป็นอำนาจดุลพินิจของศาลปกครองที่จะพิจารณากำหนดว่า จะให้การเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ มีผลตั้งแต่เมื่อใด ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณี มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องของผู้ฟ้องคดีที่ศาลปกครองจำต้องออกคำบังคับให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ ๓ เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นที่ให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ แต่ไม่เห็นพ้องด้วยกับ
คำพิพากษาในส่วนที่ให้เพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งและประกาศฉบับดังกล่าวมีผลบังคับ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามนัยมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คือ เมื่อคำสั่งพิพาทถูกศาลเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังดังกล่าว ย่อมมีผล
ทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีมิได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเร็ว ศาลปกครองสูงสุด
โดยองค์คณะที่ ๓ เห็นว่า ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำบังคับให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
การดำเนินการให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลในกรณีดังกล่าวก็คือ การย้อนเวลากลับไปในอดีตโดยถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยมีการออกคำสั่งดังกล่าวมาก่อน ผลทางนิตินัยที่ตามมาก็คือ จะต้องมีการดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีกลับคืนสู่สถานภาพเดิมโดยจะต้องคืนตำแหน่งและสิทธิประโยชน์ต่างๆ อันพึงมีพึงได้ให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยถือเสมือนหนึ่งว่าผู้ฟ้องคดีไม่เคยพ้นจากตำแหน่งเดิมเลย อย่างไรก็ตาม การดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีกลับคืนสู่สถานภาพเดิมในทาง
นิตินัยนั้น มิได้หมายความว่า จะต้องมีการดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมในทางพฤตินัยเสมอไป เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ผู้ฟ้องคดีอาจเกษียณอายุราชการไปก่อนก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ การกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมในทางพฤตินัย ก็ย่อมไม่อาจกระทำได้แล้ว นอกจากนี้ ในกรณีที่ยังอาจกลับเข้าสู่ตำแหน่งในทางพฤตินัยได้ ก็ไม่จำเป็น
ที่จะต้องกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมเสมอไป ทั้งนี้ เพราะในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ถ้าศาล

/ย่อมมีการ…

มิได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเดิมไว้ก่อน ตำแหน่งเดิมนั้นย่อมมีการแต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้ฟ้องคดีไปแล้ว การที่ศาลจะออก

/สั่งให้เพิกถอน…

คำบังคับโดยสั่งให้เพิกถอนคำสั่งพิพาทที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยจะกำหนดให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลัง หรือไม่ เพียงใด นั้น ศาลจะต้องคำนึงถึงหลักกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงของนิติฐานะและการคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่นซึ่งสุจริตด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการออกคำบังคับให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยกำหนดให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังนั้นอาจมีผลกระทบต่อคำสั่งทางปกครองฉบับอื่นที่เกี่ยวพันกันและเกิดผลกระทบต่อ
การปฏิบัติราชการได้ ถ้าคำสั่งทางปกครองฉบับอื่นนั้นได้ให้สิทธิแก่บุคคลอื่นที่สุจริตและเป็นคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดแล้ว เนื่องจากคำสั่งทางปกครองฉบับอื่นนั้นมิได้ถูกโต้แย้งคัดค้านความชอบด้วยกฎหมายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คำสั่งทางปกครอง
ฉบับอื่นนั้นก็ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลจะกำหนดให้การเพิกถอนคำสั่ง
ทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่ง
ทางปกครองดังกล่าวมีผลใช้บังคับจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบดังกล่าวและพึงกระทำเท่าที่จำเป็นจริงๆ ในคดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังจากที่ได้มีการโอนผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติแล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจาก
ผู้ฟ้องคดีมาเป็นพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และจากพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี มาเป็น พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
คนปัจจุบันเป็นบุคคลภายนอกที่มิได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีนี้
และได้เข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวโดยสุจริตโดยไม่มีผู้ใดฟ้องคดีต่อศาลปกครองโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งแต่งตั้งพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีพิพาทโดยกำหนดให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีพิพาทมีผลใช้บังคับโดยมีข้อสังเกตว่า ย่อมมีผลทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีมิได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ก็ย่อมจะมีผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติของพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร และอาจมีผลกระทบต่อความต่อเนื่อง
ของการปฏิบัติราชการของผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติตามภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือจากรัฐบาลได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ ๓ จึงเห็นควรออกคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
สั่งให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว โดยกำหนดให้การเพิกถอนมีผลเมื่อครบกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษานี้ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามนัยมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ในทางบริหารเทียบเท่ากับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษา และได้เสนอร่างคำพิพากษาให้ประธานศาลปกครองสูงสุดพิจารณา

๑.๓ การพิจารณาของประธานศาลปกครองสูงสุด

ประธานศาลปกครองสูงสุดเห็นสมควรให้วินิจฉัยประเด็นการกำหนด
คำบังคับตามคำพิพากษาโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๖๘
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดกำหนดประเด็นวินิจฉัยใน ๒ ประเด็น ดังนี้

(๑) การกำหนดคำบังคับเพื่อเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดีตามคำขอโดยการสั่งให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ จำต้องกำหนดให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันที่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือไม่ หรือให้
การเพิกถอนมีผลนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือให้การเพิกถอนมีผลไปในอนาคต
ตามร่างคำพิพากษาขององค์คณะที่ ๓

(๒) จำต้องมีข้อสังเกตตามร่างคำพิพากษาขององค์คณะที่ ๓ หรือไม่ อย่างไร

๑.๔ มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมาก

/พิจารณา…

ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวข้างต้นแล้ว มีมติด้วยเสียงข้างมาก (๑๔ เสียงต่อ ๘ เสียง) ว่า เพื่อเป็นการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ จึงให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศดังกล่าว
มีผลใช้บังคับคือวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามนัยมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ควรที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้กลับสู่ตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา

๒. ความเห็นแย้งของตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย

/มีอำนาจ…

๒.๑ ตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมาก
มีมติให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ มีผลใช้บังคับโดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ นั้น ตุลาการ
ศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อยมีข้อสังเกตเบื้องต้นว่า ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ในกรณีที่บุคคลใดเห็นว่าตนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
และบุคคลนั้นมีความประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลปกครองเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่บุคคลนั้นเห็นว่าตนได้รับจากการกระทำทางปกครองดังกล่าว บุคคลนั้นมีสิทธินำการกระทำทางปกครองนั้นมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลปกครองตรวจสอบการกระทำทางปกครองนั้นว่าเป็นการกระทำทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ถ้าศาลปกครองตรวจสอบแล้วเห็นว่าการกระทำทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองก็มีอำนาจที่จะออกคำบังคับเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้ตามที่ผู้ฟ้องคดีได้มีคำขอคำบังคับมาท้ายคำฟ้องของผู้ฟ้องคดี ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการที่หน่วยงานทางปกครองออกนิติกรรม
ทางปกครอง (กฎหรือคำสั่งทางปกครอง) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีก็มีสิทธิที่จะเลือกได้ว่าตนจะขอให้ศาลปกครองเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่ตนได้รับอย่างไร กล่าวคือ ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องคดีโดยมีคำขอให้ศาลปกครองเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายโดยการออกคำบังคับสั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองพิพาท ซึ่งถ้าผู้ฟ้องคดี
มีคำขอคำบังคับดังกล่าว ก็เป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) ซึ่งศาลปกครอง
มีอำนาจออกคำบังคับให้ได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน โดยการสั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองพิพาท หรือผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องคดีโดยมี
คำขอให้ศาลปกครองเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยการออกคำบังคับสั่งผู้ถูกฟ้องคดีให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ซึ่งถ้าผู้ฟ้องคดี
มีคำขอคำบังคับดังกล่าว ก็เป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งศาลปกครอง
มีอำนาจออกคำบังคับให้ได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
โดยการสั่งผู้ถูกฟ้องคดีให้ใช้เงินค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่
ผู้ฟ้องคดีหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งตุลาการใน
ศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อยได้พิจารณาคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีแล้วปรากฏว่า
ผู้ฟ้องคดีได้บรรยายในคำฟ้องว่า การโอนผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติไปดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหายทั้งในแง่ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของผู้ฟ้องคดีและเป็นประโยชน์ต่อราชการ เป็นการลดบทบาทและความสำคัญของผู้ฟ้องคดี รวมทั้งทำให้เสียสิทธิในการได้รับค่ารถประจำตำแหน่ง เดือนละ ๔๑,๐๐๐ บาท ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นต้นมา ซึ่งเท่ากับว่าผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนได้รับความเสียหาย แยกได้เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นความเสียหายทางด้านจิตใจที่ไม่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของผู้ฟ้องคดีและถูกลดบทบาทและความสำคัญของผู้ฟ้องคดีจากที่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในทางบริหารและมีผู้ใต้บังคับบัญชามาดำรงตำแหน่งเป็นเพียงที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้ว่าจะเป็นตำแหน่งนักบริหารระดับสูงในระดับเดียวกันกับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ก็เป็นเพียงตำแหน่งข้าราชการประจำที่ ก.พ. ได้กำหนดไว้ในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จึงอยู่ใต้บังคับบัญชาของเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและการปฏิบัติราชการของผู้ดำรงตำแหน่งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการมอบหมายของผู้บังคับบัญชา และส่วนที่สอง ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนเสียสิทธิในการได้รับค่ารถประจำตำแหน่ง เดือนละ ๔๑,๐๐๐ บาท แต่ผู้ฟ้องคดีก็มิได้บรรยายมาในคำฟ้องให้ชัดเจนและมิได้แสดงพยานหลักฐานสนับสนุนคำกล่าวอ้างของตนมาด้วยว่าตนได้รับความเสียหายทั้งสองส่วนดังกล่าวข้างต้นอย่างไร คิดเป็นเงินจำนวนเท่าใด และผู้ฟ้องคดีก็มิได้มีคำขอให้ศาลออก
คำบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินจำนวนเท่าใด
โดยผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ศาลเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยการสั่งเพิกถอนคำสั่งพิพาทและให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องและคำขอคำบังคับดังกล่าวของผู้ฟ้องคดีแล้ว ตั้งรูปคดีว่าเป็นคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) ประกอบกับมาตรา ๗๒

/พ.ศ. ๒๕๔๒…

วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงได้พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งพิพาทโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับโดยมิได้มีคำบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหายทางด้านจิตใจและการเสียสิทธิได้รับค่ารถประจำตำแหน่งให้แก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด โดยมีข้อสังเกต
แต่เพียงว่า ผู้เกี่ยวข้องต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเร็ว ซึ่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่เห็นพ้องด้วยกับการกำหนดคำบังคับและข้อสังเกตดังกล่าวของศาลปกครองชั้นต้น
โดยเห็นว่า การเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับให้ได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็คือ
การสั่งให้เพิกถอนคำสั่งพิพาท ส่วนการกำหนดว่าจะให้การเพิกถอนคำสั่งมีผลตั้งแต่เมื่อใดนั้น มาตรา ๗๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้เป็น
อำนาจดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาได้เองว่าจะสมควรกำหนดให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งก็ได้ หรือจะกำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความเป็นธรรมแห่งกรณี นอกจากนี้ ยังมีหลักกฎหมายทั่วไปในทางปกครองที่สำคัญอีกประการหนึ่งว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองนั้น ศาลปกครองจะต้องอำนวยความยุติธรรมทางปกครองโดยพยายามรักษาดุลยภาพระหว่างการดูแลรักษาประโยชน์ส่วนตัวของผู้ฟ้องคดีกับผลกระทบที่อาจจะมีต่อประโยชน์สาธารณะและการบริหารราชการแผ่นดินที่รัฐโดยหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็น
ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาอีกด้วย

๒.๒ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อพิจารณาทางวิชาการเกี่ยวกับผลในทางกฎหมายของนิติกรรมทางปกครอง (กฎหรือคำสั่งทางปกครอง) ที่มีความบกพร่องในทางกฎหมายกับความจำเป็นในการเพิกถอน
นิติกรรมทางปกครองดังกล่าวและการกำหนดว่าจะให้การเพิกถอนมีผลตั้งแต่เมื่อใด ดังนี้

๒.๒.๑ สำหรับผลในทางกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองที่มีความบกพร่องในทางกฎหมายนั้น มีหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับระดับความร้ายแรงของความบกพร่อง ดังนี้

/(๒) นิติกรรม…

(๑) นิติกรรมทางปกครองที่มีความไม่ชอบด้วยกฎหมายในระดับ
ที่ร้ายแรงมากและเป็นที่ประจักษ์ชัด ในกรณีนี้ ถือว่านิติกรรมทางปกครองดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นเลยหรือถือว่าเป็นโมฆะโดยเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ศาลเพียงแต่วินิจฉัยถึงความเป็นโมฆะโดยไม่จำต้องเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองดังกล่าว

(๒) นิติกรรมทางปกครองที่มีความไม่ชอบด้วยกฎหมายในระดับธรรมดาและไม่เป็นที่เห็นประจักษ์ชัด ในกรณีนี้ ถือว่านิติกรรมทางปกครองดังกล่าวคงมีผลทางกฎหมายอยู่จนกว่าจะถูกเพิกถอน ถ้าไม่มีผู้ใดหยิบยกความไม่ชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองดังกล่าวขึ้นมาโต้แย้งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
นิติกรรมทางปกครองดังกล่าวก็ย่อมมีผลทางกฎหมายอยู่ต่อไปและไม่อาจถูกเพิกถอนได้อีก ทั้งนี้ ตามหลักความมั่นคงของนิติฐานะและการคุ้มครองความเชื่อถือของผู้ที่สุจริต
ในนิติกรรมทางปกครอง

(๓) นิติกรรมทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายในส่วนของเนื้อหาสาระ แต่มีความบกพร่องในส่วนของรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ในกรณีนี้ กฎหมายยอมให้มีการย้อนกลับไปแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวได้
แต่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากได้มีการแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ก็ถือว่าความไม่ชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองดังกล่าวได้หมดสิ้นไปโดยไม่จำต้องมีการเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองดังกล่าวอีกต่อไป เช่น คำสั่งทางปกครองที่ออกมา
โดยมิได้จัดให้มีเหตุผลตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลในภายหลัง

(๔) นิติกรรมทางปกครองที่มีความบกพร่องในส่วนของรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการที่ไม่เป็นสาระสำคัญ ในกรณีนี้ ไม่จำเป็นต้องมีการเพิกถอนนิติกรรม
ทางปกครองดังกล่าว

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า นิติกรรมทางปกครองที่ออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าไม่มีผู้ใดโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายและเป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็น
ที่จะต้องถูกเพิกถอน ก็ยังมีผลใช้บังคับต่อไปได้

๒.๒.๒ ในกรณีที่มีการเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะกำหนดให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคต นั้น ในระบบกฎหมายปกครองของต่างประเทศ (เช่น ในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส)
มีวิวัฒนาการ ดังนี้

/ของหน่วยงาน…

(๑) แต่เดิม ศาลปกครองของฝรั่งเศสจะถือเคร่งครัดว่า นิติกรรม
ทางปกครองใดที่ศาลวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองนั้นโดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่นิติกรรมทางปกครองดังกล่าวมีผลใช้บังคับโดยยึดถือตามหลักการที่ว่าการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย และเป็นหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลัง ซึ่งก็คือการย้อนเวลากลับไปในอดีตโดยถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยมีการออกนิติกรรมทางปกครองที่ถูกศาลเพิกถอนมาก่อน เช่น ในกรณีที่ศาลเพิกถอนประกาศ
ผลการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ หรือในกรณีที่ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการหรือคำสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการด้วยเหตุอื่นโดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลัง หน่วยงานทางปกครองก็จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม
คำพิพากษาของศาลโดยการจัดให้มีการสอบแข่งขันใหม่หรือโดยการดำเนินการ
ให้ข้าราชการที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการได้กลับคืนสู่สถานภาพเดิม โดยจะต้องคืนตำแหน่ง เงินเดือน สิทธิในการเลื่อนขั้นเงินเดือน สิทธิในการเลื่อนระดับตำแหน่ง อายุราชการ ฯลฯ ทั้งนี้ โดยพิจารณาตามกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

(๒) ต่อมา ศาลปกครองของฝรั่งเศสได้ยอมรับว่า หน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองโดยให้มีผลย้อนหลังโดยการดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีที่ชนะคดี
ได้กลับคืนสู่สถานภาพเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินการให้ผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้กลับเข้ารับราชการนั้น อาจกระทำได้แต่เพียงในทาง
นิตินัยเท่านั้น มิได้หมายความว่า หน่วยงานทางปกครองมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้ผู้นั้นได้กลับเข้ารับราชการในทางพฤตินัยจริงๆ ทั้งนี้ เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลซึ่งอาจใช้เวลานานหลายปี ผู้ฟ้องคดีอาจจะขาดคุณสมบัติที่จะกลับเข้ารับราชการ
ได้แล้ว เช่น ผู้ฟ้องคดีมีอายุเกินกำหนดหรือมีปัญหาเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพ เช่นนี้
การดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลก็คือการดำเนินการในทางนิตินัย โดยการคืนสิทธิอันพึงมีพึงได้ให้แก่ผู้ฟ้องคดีเท่าที่ยังสามารถดำเนินการให้ได้อยู่ (เช่น เงินเดือน
สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคำนวณเป็นเงินได้) และโดยการชดเชยความเสียหายเป็นเงินให้แก่ผู้ฟ้องคดีแทนการดำเนินการในทางพฤตินัย

/เข้าสู่ตำแหน่ง…

นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดียังมีคุณสมบัติที่จะกลับเข้ารับราชการได้ ก็มิได้หมายความว่า หน่วยงานทางปกครองจะต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีได้กลับเข้า
รับราชการในตำแหน่งเดิมเสมอไป ทั้งนี้ เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ในตำแหน่งเดิมที่ผู้ฟ้องคดีเคยครองอยู่ ก็ย่อมมีการแต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดำรงตำแหน่ง
แทนผู้ฟ้องคดีไปแล้วหลายคน ดังนั้น หน่วยงานทางปกครองจึงอาจแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้าสู่ตำแหน่งที่มีลักษณะเหมือนกันหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าได้ โดยมีข้อยกเว้นสำหรับตำแหน่งผู้พิพากษาหรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานบางหน่วยงานที่มีลักษณะเฉพาะ

(๓) โดยที่การที่ศาลปกครองเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังอาจมีผลกระทบต่อหลักความมั่นคงทาง
นิติฐานะและการคุ้มครองสิทธิของบุคคลซึ่งสุจริต ตลอดจนส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินในวงกว้างได้ ดังนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ศาลปกครองของฝรั่งเศสจึงปรับเปลี่ยนแนวคำวินิจฉัยเดิมที่เคยถือเคร่งครัดว่าจะต้องเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังเสมอ เป็นให้มีข้อยกเว้นได้ในกรณีที่การเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองโดยให้มีผลย้อนหลังจะส่งผลกระทบที่รุนแรงเกินขนาดอย่างชัดแจ้งและก่อให้เกิดผลที่ตามมาซึ่งไม่ได้สัดส่วนกับความไม่ชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลปกครองอาจเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองนั้นโดยให้การเพิกถอนมีผลไปในอนาคตได้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อผลทางกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองนั้นที่ได้เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่
นิติกรรมทางปกครองนั้นได้มีผลใช้บังคับมาจนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอน นอกจากนี้ ในกรณีที่ศาลปกครองเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ได้ออกมาโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลปกครองก็อาจกำหนดให้การเพิกถอนมีผลไปในอนาคตได้ ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานทางปกครองได้มีโอกาสและเวลาไปดำเนินการจัดทำนิติกรรมทางปกครองในเรื่องนั้นใหม่โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ในระบบกฎหมายปกครองของต่างประเทศนั้น
การเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลปกครองไม่จำเป็นต้องเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังเสมอไป โดยศาลปกครองอาจเพิกถอนโดยให้มีผล
ไปในอนาคตก็ได้ในกรณีที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

๒.๒.๓ ในระบบกฎหมายปกครองของไทย มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในกฎหมาย ๒ ฉบับว่า การเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งก็ได้ ดังนี้คือ (๑) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

/ขณะหนึ่ง…

“ มาตรา ๕๐ คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้ แต่ถ้าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับ การเพิกถอนต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒”

“มาตรา ๕๑ การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งเป็นการให้เงิน หรือให้ทรัพย์สินหรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน

ฯลฯ”

(๒) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒

“มาตรา ๗๒ ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอำนาจกำหนด
คำบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมด
หรือบางส่วน ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)

ฯลฯ ฯลฯ

ในการมีคำบังคับตามวรรคหนึ่ง (๑) ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งได้ หรือจะกำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณี

ฯลฯ ฯลฯ”

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ในระบบกฎหมายปกครองของไทยนั้น การเพิกถอน
นิติกรรมทางปกครอง (กฎหรือคำสั่งทางปกครอง) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่จำเป็นต้อง
เพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลัง โดยอาจเพิกถอนให้มีผลไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคต
ก็ได้ โดยให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณี

๒.๓ ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ผ่านมาที่มีการเพิกถอนนิติกรรม
ทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดได้เคยกำหนดให้การเพิกถอนมีผลไม่ย้อนหลังมาแล้วหลายคดี

/คดีหมายเลขแดงที่…

๒.๓.๑ คดีที่ศาลปกครองสูงสุดกำหนดให้การเพิกถอนมีผลนับตั้งแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เช่น

คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๘๙/๒๕๔๙ ระหว่างนายไพรัช สหเมธาพัฒน์
ผู้ฟ้องคดี กับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับพวก

ศาลปกครองชั้นต้นกำหนดคำบังคับให้เพิกถอนหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร ๙ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๑/ว ๙ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกตามข้อ ๒.๓.๒ และ ข้อ ๒.๓.๓ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ออกหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวเป็นต้นไป

ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า หากศาลปกครองสูงสุดจะกำหนด
ให้มีการเพิกถอนหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการฯ ตั้งแต่วันที่ออกหลักเกณฑ์นี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ย่อมมีผลกระทบต่อข้าราชการพลเรือนรายอื่น
ที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งโดยอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกันและมิได้มีส่วนได้เสีย
ในคดีนี้ รวมทั้งอาจมีผลกระทบต่อการบริหารราชการโดยรวมได้ จึงพิพากษาแก้คำพิพากษา
ของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้เพิกถอนหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการฯ ตั้งแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา

๒.๓.๒ คดีที่ศาลปกครองสูงสุดกำหนดให้การเพิกถอนมีผลไป
ในอนาคต เช่น

(๑) คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๔๗๙/๒๕๕๖ ระหว่างพลตำรวจตรี สุวิระ ทรงเมตตา ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับพวก

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอน กฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ระดับสารวัตรถึงจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ เฉพาะข้อ ๑๑ วรรคสอง โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ กฎ ก.ตร. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

/(๑) ศาลปกครอง…

ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้การเพิกถอน กฎ ก.ตร. ดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ กฎ ก.ตร. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับนั้น ยังไม่ถูกต้องเนื่องจากหากมีการเพิกถอนย้อนหลังไปถึงวันดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในตำแหน่งผู้บัญชาการที่ผ่านมาและการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน เกิดผลเสียหายมากกว่าผลดี และโดยที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗๒ วรรคสอง บัญญัติว่า ในการมีคำบังคับตามวรรคหนึ่ง (๑) ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งได้ หรือจะกำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณี ดังนั้น เพื่อให้การเพิกถอน กฎ ก.ตร. ดังกล่าวเกิดความเป็นธรรมแห่งกรณีและเกิดดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของทางราชการกับประโยชน์ของผู้ฟ้องคดี จึงสมควรให้
เพิกถอน กฎ ก.ตร. ดังกล่าวโดยให้การเพิกถอนมีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่ง
คำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้
เพิกถอนกฎ ก.ตร. ดังกล่าวโดยให้การเพิกถอนมีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่ง
คำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา

(๒) คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๒๕๒/๒๕๕๖ ระหว่างนายชุมพร เงินทอง ผู้ฟ้องคดี กับผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี

ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมที่ไม่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๗ จึงขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่ง
ที่แต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

/ให้ดำรงตำแหน่ง…

ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า คำสั่งพิพาทเป็นคำสั่ง
ที่ออกโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ จึงชอบที่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการที่เหมาะสมเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๗ ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดต่อไป แต่อย่างไรก็ดี หากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งพิพาทย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งดังกล่าว จำนวน ๓ ราย ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและมีสิทธิสมัครเข้าคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๗ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และได้ผ่านกระบวนการพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแล้วโดยสุจริต และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องดำเนินการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๗ และออกคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุด
มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งพิพาทแล้วนั้น โดยสภาพ ย่อมอาจเกิดปัญหาความเป็นธรรมในการพิจารณาความเหมาะสมของข้าราชการจำนวน ๕ รายที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๗ ใหม่ได้ เนื่องจากเป็นการพิจารณาประเมินความเหมาะสมของบุคคลย้อนหลังไปในขณะที่มีการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการ
ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และโดยที่มาตรา ๗๒ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งโดยกำหนดว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งได้ หรือจะกำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณี ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะเป็นการคุ้มครองสิทธิโดยสุจริตให้แก่ข้าราชการทั้งสามรายที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๗ ตามคำสั่งพิพาท ศาลปกครองสูงสุดจึงเห็นสมควรกำหนดให้เพิกถอนคำสั่งพิพาทโดยให้มีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งตามบทบัญญัติในมาตรา ๗๒ วรรคสอง เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการคัดเลือกข้าราชการเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๗ ใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดและออกคำสั่ง
ที่ถูกต้องต่อไป พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้เพิกถอนคำสั่งพิพาท ทั้งนี้ ให้การเพิกถอนคำสั่งพิพาทมีผลเมื่อครบกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษานี้

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ผ่านมา
ศาลปกครองสูงสุดได้เคยพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองทั้งที่เป็นกฎและคำสั่งทางปกครองโดยมิได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังมาแล้วหลายคดี ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อบุคคลอื่นที่สุจริตและมิให้มีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินมากเกินสมควรกับให้เกิดดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีกับประโยชน์ของทางราชการ

๒.๔ ในคดีอื่นที่ศาลปกครองสูงสุดได้เคยพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งโอนข้าราชการโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งโอนมีผลใช้บังคับนั้น ตำแหน่งข้าราชการ
ที่มีการโอนมีความแตกต่างจากตำแหน่งที่เป็นปัญหาในคดีนี้ เช่น

คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๒๒๙/๒๕๕๔ ระหว่างนายจาดุร อภิชาตบุตร
ผู้ฟ้องคดี กับนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับพวก

/ในขณะนั้น…

ในคดีดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีถูกโอนจากตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งโอนมีผลบังคับ ซึ่งตำแหน่งในคดีดังกล่าวมีลักษณะที่แตกต่างจากตำแหน่งในคดีนี้ กล่าวคือ ตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงที่มีได้หลายตำแหน่ง และในกรณีที่ศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งโอนโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งโอนมีผลบังคับ ถึงแม้ว่าในขณะนั้น ตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเลขที่ตำแหน่งเดิมที่ผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าว
เคยครองอยู่จะไม่ว่างแล้วเนื่องจากได้มีการแต่งตั้งบุคคลอื่นให้มาดำรงตำแหน่งแทนแล้วก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องทำให้ตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเลขที่ตำแหน่งเดิมที่ผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าวเคยครองอยู่ว่างลงโดยการโอนบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง
ในขณะนั้นไปดำรงตำแหน่งอื่น แต่ผู้ถูกฟ้องคดีก็สามารถขอให้ ก.พ. ดำเนินการตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยกำหนดตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นมาใหม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าวได้ แต่ตำแหน่งในคดีนี้เป็นตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ซึ่งนอกจากจะเป็นตำแหน่งที่มีเพียงตำแหน่งเดียวแล้ว ยังเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ปฏิบัติราชการรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงของประเทศโดยตรงที่ผู้ดำรงตำแหน่ง
จะต้องเป็นบุคคลซึ่งได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่าจะสามารถปฏิบัติราชการตอบสนองนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินแทนรัฐบาลเดิม
ก็จะคัดเลือกบุคคลที่รัฐบาลใหม่ให้ความไว้วางใจให้เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ภายหลังจากที่ได้มีการโอนผู้ฟ้องคดี
ให้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติแล้ว ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจากผู้ฟ้องคดีมาเป็นพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจากพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี มาเป็น
พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มิได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การพิจารณาพิพากษาคดีนี้และได้เข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวโดยสุจริต โดยไม่มีผู้ใดนำคำสั่งแต่งตั้งพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร มาฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอน ดังนั้น การที่ศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับ ก็ย่อมจะมีผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่งดังกล่าวของพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร และอาจมีผลกระทบต่อความต่อเนื่องของการปฏิบัติราชการของผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติตามภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากสภาความมั่นคงแห่งชาติและจากรัฐบาลได้ นอกจากนี้ การเพิกถอนคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งโอนมีผลบังคับ ก็มีผลในทางนิตินัยเท่านั้น แต่มิได้มีผลในทางพฤตินัย

/ด้วยเหตุผล…

เพราะตามความเป็นจริงไม่อาจย้อนเวลากลับไปหาอดีตได้อีกแล้ว

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย
จึงไม่เห็นพ้องด้วยกับมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมากที่ให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ควรที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภา
ความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา โดยตุลาการใน
ศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อยเห็นควรกำหนดให้การเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลเมื่อครบกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษานี้ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่น
ที่มีอำนาจหน้าที่ในทางบริหารเทียบเท่ากับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษา

๓. ความเห็นแย้งเฉพาะตน

/ลงวันที่ ๑๐…

นอกจากความเห็นแย้งดังกล่าวข้างต้นแล้ว นายวิษณุ วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ยังมีความเห็นแย้งเพิ่มเติมอันเป็นความเห็นเฉพาะตน
ในคดีนี้ว่า มาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า คำฟ้องให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมี (๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี (๒) ชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี (๓) การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว (๔) คำขอของผู้ฟ้องคดี คดีนี้
ผู้ฟ้องคดีบรรยายในคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ๖๓๕/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ (ศาลปกครองกลาง) ว่าผู้ฟ้องคดีในขณะที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่าผู้ฟ้องคดีได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ตามคำร้องทุกข์ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔ และคณะกรรมการ ก.พ.ค. ได้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕
ให้ยกคำร้องทุกข์ ตามหนังสือคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ที่ นร ๐๑๐๑.๓.๒.๒/๔๑ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ โดยมีคำขอ
ท้ายฟ้อง (๑) ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ กับ (๒) ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัย ก.พ.ค. เรื่องการร้องทุกข์เกี่ยวกับการออกคำสั่งโอนย้ายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เรื่องดำที่ ๕๔๒๐๑๕๙ เรื่องแดงที่ ๐๐๓๔๒๕๕ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ รวมทั้งมีคำขอให้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาด้วย

จากการตรวจเอกสารในสำนวนคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้หยิบยก
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ อันเป็นประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นมาเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีมิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศดังกล่าวแต่อย่างใด ในชั้นพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้น ผู้ฟ้องคดีมิได้นำเสนอประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่ศาลปกครองชั้นต้นหยิบยกขึ้นมาพิจารณาโดยพลการ เอกสารดังกล่าวเพิ่งมาปรากฏในสำนวนในชั้นพิจารณาของ
ศาลปกครองสูงสุด โดยศาลได้มีหมายเรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นำส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาล และประการสำคัญ ผู้ฟ้องคดีมิได้มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ การที่ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุดหยิบยกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ขึ้นมาพิจารณาและมีคำพิพากษาเพิกถอนประกาศฉบับดังกล่าวนั้น นายวิษณุ วรัญญู ไม่เห็นด้วยโดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้

/พิพากษา…

๑. โดยที่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ มิใช่เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น เหตุแห่งการฟ้องคดีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างความไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้จึงมีแต่เพียงคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔
ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
และคำวินิจฉัยร้องทุกข์ของคณะกรรมการ ก.พ.ค. ที่ นร ๐๑๐๑.๓.๒.๒/๔๑ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ เท่านั้น การหยิบยกการกระทำอื่นที่ผู้ฟ้องคดีมิได้ฟ้องขึ้นมาพิจารณาจึงเป็นการพิจารณาพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น แม้จะพิจารณาว่าความเดือดร้อนเสียหายของผู้ฟ้องคดี
กล่าวอย่างโดยรวมคือการพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติก็ตาม แต่โดยที่คำสั่งและประกาศดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองสองคำสั่งที่แยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทั้งสองมิได้ขึ้นแก่กันและกัน หลักเกณฑ์การออกคำสั่ง
ทั้งสองก็เป็นคนละหลักเกณฑ์ ดังนั้น หากผู้ฟ้องคดีประสงค์จะให้ศาลพิจารณาพิพากษา
ไปถึงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ด้วย ผู้ฟ้องคดีจะต้องฟ้องคำสั่งทั้งสองและกล่าวอ้างความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทั้งสองมาในคำฟ้องหรือใน
คำฟ้องเพิ่มเติม เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้กล่าวถึงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ เลย ศาลจึงไม่อาจหยิบยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเองได้

๒. ในคดีนี้ศาลไม่อาจใช้ดุลพินิจหยิบยกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ขึ้นมาพิจารณาเองได้ เพราะจากการตรวจสอบเอกสารในสำนวน
ไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการเยียวยาภายในฝ่ายปกครองก่อนมาฟ้องศาล ซึ่งในกรณีนี้คือการร้องทุกข์ตามข้อ ๗ ของกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย
เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งกำหนดว่า ภายใต้บังคับข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด
มีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. นี้ การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาซึ่งทำให้เกิดความคับข้องใจอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ นั้น ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

(๑) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้น หรือโดยไม่สุจริต

(๒) เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดขึ้นเกินสมควร

(๓) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

(๔) ประวิงเวลา หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางอย่างอันเป็นเหตุให้เสียสิทธิหรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร

/หัวหน้าส่วน…

(๕) ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรมตามมาตรา ๔๒ และตามข้อ ๓๑ ซึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี
ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. โดยยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ที่สำนักงาน ก.พ. หรือจะส่งคำร้องทุกข์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักงาน ก.พ. ก็ได้

กรณีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นเรื่องที่
ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดี
จึงต้องปฏิบัติตามข้อ ๗ ของ กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการ กรณีจึงต้องถือว่า
ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

๓. ในคำขอท้ายฟ้องลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ผู้ฟ้องคดีมิได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ การที่ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุดหยิบยกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ขึ้นมาพิจารณาและพิพากษาเพิกถอน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

โดยที่ประเด็นเรื่องการพิพากษาเกินคำขอเป็นข้อกฎหมายสำคัญและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยอันศาลปกครองสูงสุดหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เองแม้คู่กรณีจะมิได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ จึงไม่เห็นด้วยที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดไม่หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นพิจารณาด้วย

โดยที่ก่อนผู้ฟ้องคดีนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ อันมีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำแล้ว คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี จึงสิ้นผลไปโดยปริยายแล้ว เหตุแห่งการฟ้องคดีในคดีนี้จึงหมดสิ้นไป ดังนั้น นายวิษณุ วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด จึงเห็นว่าคดีนี้ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

นายชาญชัย แสวงศักดิ์

/นายวรพจน์…

ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด

นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์

ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด

นายวิษณุ วรัญญู

ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด

นายนพดล เฮงเจริญ

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายประวิตร บุญเทียม

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายสมชัย วัฒนการุณ

ธนวรรณ : ผู้พิมพ์

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

คำถามเนติ สมัย ๖๓ อาญา

ปิดความเห็น บน คำถามเนติ สมัย ๖๓ อาญา

คำถามเนติ สมัย ๖๓ อาญา

ข้อ ๑ บริษัทเอก จำกัด ได้รับงานจ้างก่อสร้างโรงรถในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของรัฐ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้ง นายดวง ข้าราชการพลเรือนตำแหน่งวิศวกรชำนาญการ มีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและรายงานผลการดำเนินงานก่อสร้างแก่มหาวิทยาลัย และได้แต่งตั้งนายชาญ ข้าราชการพลเรือน ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดซื้อคุรุภัณฑ์ทั่วๆไปของมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการการตรวจจ้าง มีหน้าที่ตรวจรับงานจ้างโรงรถอีกหน้าที่หนึ่ง บริษัทเอก จำกัด ก่อสร้างงานเสร็จส่งมอบงานให้นายดวงพิจารณา นายดวงอยากได้เงินสักก้อนเพื่อไปให้ผู้บังคับบัญชาจึงขอให้บริษัทเอก จำกัด จัดมาให้ตนโดยพูดว่าหากไม่ให้ตนอาจจะรายงานในทางให้คุณหรือโทษ โดยอาจจะบันทึกว่างานนั้นยังไม่เสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาจ้างก็ได้ แต่บริษัทเอก จำกัด ไม่นำเงินมาให้ นายดวงเห็นว่าหากรอเรื่องไว้จะเป็นความผิด จึงรายงานว่าบริษัทเอก จำกัด ได้ก่อสร้างถูกต้องตามแบบแล้ว มหาวิทยาลัยจึงส่งเรื่องให้นายชาญกรรมการตรวจการจ้างตรวจงาน นายชาญจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ จึงรีบลงลายมือชื่อในหนังสือรับมอบงานโดยไม่ได้ไปตรวจงานตามหน้าที่ บริษัทเอก จำกัด ได้เงินจากมามหาวิทยาลัยแล้วแต่ไม่ได้มอบเงินให้นายดวง

ให้วินิจฉัยว่า นายดวง นายชาญ มีความผิดฐานใด

คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๓๙๕๓/๒๕๓๐ จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดมหาวิทยาลัย ร. มีหน้าที่ปฏิบัติงานช่าง เขียนแบบและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจำเลยได้รับแต่ง ตั้งจากมหาวิทยาลัยให้มีหน้าที่ควบคุมและตรวจงานก่อสร้างที่พักสำหรับนัก ศึกษา แล้วรายงานผลให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบ ซึ่งจำเลยอาจรายงานในทางให้คุณหรือให้โทษโดยเกี่ยงงอน ว่างานงวดสุดท้ายที่จำเลยเรียกร้องเงินจาก พ. ตัวแทนของผู้รับจ้างในการที่จำเลยจะลงนามตรวจผ่านให้นั้นยังไม่แล้วเสร็จ บริบูรณ์ตามสัญญาจ้างก็ได้จึงถือได้ว่าจำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบจูงใจ เพื่อให้ พ. ให้เงินดังกล่าวแก่จำเลย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๘ แล้ว แม้จำเลยจะอ้างว่าเรียกร้องให้ผู้อื่นและได้มีการส่งมอบเงินให้จำเลยหลังจาก ที่คณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานไว้แล้วก็ตาม

ข้อ ๒ นายเหลืองและนายเขียวตกลงร่วมกันขับรถแข่งบนท้องถนนในเวลากลางคืน เมื่อถึงเวลานัด ทั้งสองต่างขับรถยนต์ของตนแข่งกันด้วยความเร็วสูง รถยนต์ทั้งสองคันได้เฉี่ยวชนนายดำซึ่งกำลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย นายดำมีบาดแผลเล็กน้อย นายเหลืองและนายเขียวได้จอดรถและลงจากรถมาขอโทษนายดำโดยจ่ายค่าเสียหายให้ นายดำจำนวนหนึ่ง นายดำรับเงินมาแล้ว จึงไปรักษาบาดแผลที่โรงพยาบาล แต่เป็นเพราะความประมาทเลิ่นเล่อของพยาบาลทำให้บาดแผลติดเชื้อ นายดำจึงถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา

ให้วินิจฉัยว่า นายเหลืองและนายเขียวมีความผิดใดหรือไม่

นายเหลือง นายเขียว มีผิดฐานขับรถจักรยานบนทางสาธารณะโดยประมาทเป็นเหตุให้นายดำ ได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำความผิดฐานร่วมกันโดยประมาท ไม่อาจมีได้ จึงไม่ถือว่าเป็นตัวการร่วม แต่แยกการกระทำของแต่ละคนออกจากกัน คือ ต่างคนต่างประมาท แต่เมื่อผลจากการการะทำโดยประมาทของบุคคลทั้งสอง เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของตนเอง จนเป็นเหตุให้นายดำ ถึงแก่ความตาย จึงต้องรับผิดฐาน กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย เพราะความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของนายเหลืองและเขียว ถึงแม้พยาบาลจะประมาทรักษาแผลไม่ดีก็ตาม เมื่อบาดแผลที่รักษาเกิดจากการกระทำของนายเหลืองและเขียว ความตายของดำจึงเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทของเหลืองและเขียว

ข้อ ๓ นายเบี้ยวจ้างนายแบนให้ไปฆ่านายทอง นายแบนไปที่บ้านนายทอง นายทองกำลังยืนคุยกับนายเงิน แต่นายแบนไม่รู้จักนายทองมาก่อน จึงถามนายทองว่าคนไหนคือนายทอง นายทองรู้ว่านายแบนเป็นมือปืนรับจ้างจะมาฆ่าตน จึงชี้ไปที่นายเงินและบอกว่านี่คือนายทอง นายแบนสำคัญผิดว่านายเงินคือนายทอง จึงชักปืนยิงนายเงินถึงแก่ความตาย

ให้วินิจฉัยว่า นายแบน นายทอง นายเบี้ยว มีความผิดฐานใดหรือไม่

นายแบนใช้ปืนยิง เขียวตาย นายแบนรู้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่น การกระทำของนายแบนจึงครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานฆ่าผู้อื่น การที่นายแบนได้รับจ้างมาจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของนายแบนจึงครบองค์ประกอบภายใน นายแบนจึงต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ปอ. มาตรา ๒๘๙ (๔) และ มาตรา ๕๙
แต่การที่นายแบนสำคัญผิดว่านายเงินคือนายทอง นายแบนจะอ้างความสำคัญผิดดังกล่าวมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีเจตนาฆ่านายเงินไม่ได้ ตาม มาตรา ๖๑ วางหลักไว้
การที่นายแบนพกอาวุธปืนไปยิงเขียวนายเงินตาย จึงผิดฐานพาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุอันควร ตาม มาตรา ๓๗๑ และยิงปืนในเมืองโดยใช่เหตุ ตาม ม. ๓๗๖ อีก
นายเบี้ยวจ้างนายแบนให้ไปฆ่านายทอง จึงเป็นการก่อให้นายแบนกระทำความผิดด้วยการจ้าง นายเบี้ยวเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด เมื่อนายแบนใช้ปืนยิงเขียวตาย แล้วเป็นการกระทำภายในขอบเขตของการใช้ของนายเบี้ยว ตาม มาตรา ๘๗ นายเบี้ยวจึงต้องรับโทษเสมือนตัวการ นายเบี้ยวต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ปอ. มาตรา ๒๘๙ (๔) , มาตรา ๘๔ และมาตรา ๘๗
การที่นายทอง รู้อยู่แล้วว่านายแบนจะมาฆ่าตนจึงกลัวตาย นายทอง จึงบอกว่านายเงินคือนายทอง นายทอง ย่อมเล็งเห็นได้ว่า นายแบนจะไปฆ่านายเงินได้ จึงถือว่านายทอง มีเจตนาฆ่านายเงินเป็นเจตนาเล็งเห็นผล ตาม มาตรา 59 วรรคสอง นายทอง จึงเป็นผู้ก่อให้นายแบนกระทำความผิด ดำจึงต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ปอ. มาตรา 289(4) , มาตรา 59 วรรคสอง และ มาตรา 84 นายทอง ไม่สามารถอ้างว่า นายทอง กระทำผิดด้วยความจำเป็น ตาม มาตรา 67 ได้แม้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงเพราะนายทอง สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยวิธีอื่น

ตัวอย่าง นายแดงจ้างนายดำไปฆ่านายขาว นายดำไม่รู้จักนายขาวจึงไปถามนายขาว นายขาวระแวงว่านายดำจะมาฆ่าตน กลัวถูกฆ่า จึงชี้ไปที่นายเขียว และบอกว่านายเขียวคือนายขาว นายดำจึงยิงนายเขียวตาย
ให้วินิจฉัยว่า นายแดง นายดำและนายขาวมีความผิดฐานใด
คำตอบ นายดำใช้ปืนยิงนายเขียวตาย เป็นการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพราะการรับจ้างมาฆ่า นายดำจะอ้างความสำคัญผิดในตัวบุคคลมาเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่มีเจตนาฆ่านายเขียวไม่ได้ตามมาตรา ๖๑ นายดำจึงมีความผิดตามมาตรา ๒๘๙ (๔) , ๕๙ และ ๖๑ นายแดงจ้างนายดำไปฆ่านายขาว เป็นการก่อให้นายดำกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อนายดำยิงนายเขียวโดยสำคัญผิดในตัวบุคคล คือเข้าใจว่านายเขียวคือนายขาว ถือว่าอยู่ในขอบเขตแห่งการใช้ตามมาตรา ๘๗ นายแดงจึงต้องรับผิดในความตายของนายเขียว นายแดงมีความผิดตามมาตรา๒๘๙ (๔) , ๕๙ , ๖๑ และ ๘๔ วรรคสองนายขาวบอกว่านายเขียวเป็นนายขาว ทำให้นายดำมีเจตนาฆ่านายเขียว เป็นการก่อให้นายดำกระทำความผิดฐานฆ่านายเขียว นายขาวจึงเป็นผู้ใช้โดยการหลอกนายดำ เมื่อนายดำยิงนายเขียวตาย อันเป็นการทำผิดตามที่ใช้ นายขาวจึงมีความผิดตามมาตรา ๒๘๙ (๔) , ๘๔ วรรคสอง
ข้อ ๔ นายปิงกับนายวังร่วมกันแจ้งต่อนายหวานเจ้าหน้าที่ปกครอง นำนักงานทะเบียนอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ว่า นายวังชื่อนายน่าน เป็นบุตรของนายปิง ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ เนื่องจากบัตรเดิมสูญหาย นางหวานจึงให้บุคคลทั้งสองไปพบนายเค็มปลัดอำเภอเลิงนกทาเพื่อทำการสอบสวน นายเค็มสอบสวนแล้วแจ้งให้นายปิงไปหาบุคคลมารับรองตัวนายวัง นายปิงจึงไปตามนายยม มาและนายยมได้ลงชื่อรับรองในบันทึกคำให้การรับรองบุคคลด้านหลังคำขอมีบัตร ใหม่เหรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนว่านายวังชื่อนายน่าน โดยนายปิง นายวังและนายยมรู้ว่านายน่านถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนที่นายปิงกับนายวังมา แจ้งต่อนางหวานและนายเค็มผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัว ประชาชน

ให้วินิจฉัยว่า นายปิง นายวัง และนายยมมีความผิดฐานใดหรือไม่

นางหวานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง สำนักงานทะเบียนอำเภอ และนายเค็มปลัดอำเภอ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน
การที่นายปิงกับนายวังร่วมกันแจ้งต่อนางหวานว่านายวังชื่อนายน่าน อันเป็นความเท็จ จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานอัน อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ตาม ปอ.ม.๑๓๗,๘๓
และในการแจ้งนั้นก็เพื่อให้ทางอำเภอออกบัตรประชาชนให้ใหม่ จึงเป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลง ในเอกสารราชการ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน นายปิงกับนายวังจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อ ความอันเป็นเท็จ ตาม ปอ. ม.๒๖๗ , ๘๓ อีกบทหนึ่ง (กรรมเดียวหลายบท)
ส่วนการกระทำของนายยมที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองในคำขอมีบัตรใหม่โดยรู้ว่านาย น่านได้ถึงแก่ความตายไปแล้วนั้น ถือว่าเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในขณะที่นายปิงและนายยอมกระทำความผิด นายยมจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ตาม ปอ.ม.๑๓๗,๒๖๗,๘๖

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๐๒/๒๕๕๐ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวในฟ้อง นายบุญเส็ง คุ้มบุญ กับชายคนหนึ่งร่วมกันแจ้งต่อนางคมคาย พรหมอินทร์ เจ้าหน้าที่ปกครอง ๔ สำนักงานทะเบียนอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธรว่า ชายดังกล่าวชื่อนายนิคม คุ้มบุญ เป็นบุตรของนายบุญเส็งขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่เนื่องจากบัตรเดิมสูญหาย นางคมคายจึงให้บุคคลทั้งสองไปพบนายธนาคม ไหลเจริญกิจ ปลัดอำเภอเลิงนกทา เพื่อทำการสอบสวน นายธนาคมสอบสวนแล้วแจ้งให้นายบุญเส็งไปหาบุคคลมารับรองตัวชายดังกล่าว นายบุญเส็งจึงไปตามจำเลยมาลงชื่อรับรองในบันทึกคำให้การรับรองบุคคลด้านหลัง คำขอมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเอกสารหมาย จ.๓ ต่อมาความปรากฎว่านายนิคมถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนวันเกิดเหตุ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของ จำเลยข้อแรกมีว่า จำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มีนายธนาคม ไหลเจริญกิจ เป็นพยานเบิกความว่า ก่อนที่พยานจะให้จำเลยลงชื่อเป็นผู้รับรอง พยานได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าการรับรองบุคคลครั้งนี้เป็นการรับรองเพื่อทำบัตร ประจำตัวประชาชนกรณีบัตรหาย และได้สอบถามถึงความเกี่ยวพัน จำเลยแจ้งว่าเป็นญาติกับนายนิคม เมื่อจำเลยลงชื่อเป็นผู้รับรองแล้ว พยานจึงอนุมัติให้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ขอ เห็นว่า คำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นการเบิกความเนื่องจากการปฏิบัติราชการใน หน้าที่ อันเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการไม่ปรากฏเหตุระแวง สงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลย คำเบิกความจึงมีน้ำหนักควรแก่การรับฟัง จำเลยก็รับว่ารู้จักนายนิคม ที่จำเลยนำสืบทำนองว่าจำเลยลงชื่อรับรองโดยมิได้พบเห็นตัวบุคคลที่ตนรับรอง จึงขัดต่อเหตุผลไม่อาจรับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้ ได้ความว่าจำเลยเพียงแต่ลงชื่อรับรองตัวบุคคลโดยที่มิได้ร่วมกับพวกแจ้งให้ เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗, ๒๖๗, ประกอบมาตรา ๘๖ ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗ ประกอบมาตรา ๘๖

ข้อ ๕ นายปลอดนักย่องเบา เดินผ่านบ้านนายสมชายซึ่งเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ นายปลอดเป็นคนตัวเตี้ยไม่สามารถปีนโหนเข้าไปลักทรัพย์ทางหน้าต่างได้ ขณะนั้นได้มีนายโซเมาเหล้านั่งพิงย้านอยู่ใต้บริเวณหน้าต่างพอดี นายปลอดจึงกระโดดขึ้นเหยียบบ่านายโซเพื่อปีนผ่านทางหน้าต่างเข้าไปลักสร้อย คอทองคำของนายสมชายได้มา 1 เส้น เช้าวันรุ่งขึ้นขณะที่นายปลอดจะนำสร้อยที่ลักไปขายได้ถูกนายยอดกระชากสร้อย ไป

ให้วินิจฉัยว่า นายปลอดและนายยอดมีความผิดฐานใดหรือไม่

นายปลอดเจตนาเข้าไป ลักทรัพย์ในบ้านอันเป็นเคหสถานของนายสมชายโดยผ่านเข้าไปทางหน้าต่างซึ่งทำ ขึ้นโดยมิได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า แต่เมื่อไม่อาจปีนเข้าไปได้เพราะตัวเตี้ยจึงกระโดดเข้าเหยียบบ่าของนายโซ เพื่อเข้าไปลักทรัพย์ การเหยี่ยบบ่าเป็นการใช้กำลังประทษร้าย ตาม ปอ.มาตรา1(6) แล้ว เมื่อกระทำไปเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ นายปลอดจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ ตาม ปอ.339 เมื่อการชิงทรัพย์เป็นการเข้าทางช่องทางที่มิได้จำนงให้เป็นทางคนเข้าตาม มาตรา 335(4) และกระทำในบ้านอันเป็นเคหะสถานตาม มาตรา 335(8) จึงต้องรับโทษตาม 339 วรรคสอง นายปลอดยังมีความผิดฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม มาตรา 365(1) ประกอบ 364 เพราะเข้าไปในเคหสถานของนายสมชายโดยไม่มีเหตุอันสมควรอีกด้วย
เมื่อนายปลอดชิงสร้อยคอทองคำมาแล้ว สร้อยคอทองคำของนายสมชายจึ่งอยู่ในความครอบครองของนายปลอด เป็นทรัพย์ที่อาจถูกลักต่อไปได้ การที่นายยอดกระชากสร้อยไปจากนายปลอดเป็นการฉกฉวยทรัพย์ไปโดยซึ่งหน้า การกระทำของนายยอดจึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336วรรคแรก

ข้อ ๖ นายมั่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้แก่นายซื่อบุตรชาย ซึ่งเป็นน้องของนายแห้วเพียงแต่ผู้เดียว เมื่อนายมั่งถึงแก่กรรมและมีการเปิดเผยพินัยกรรม นายแห้วโกรธมาก จึงบุกเข้าไปในบ้านของนายซื่อแล้วใช้อาวุธมีดดาบที่นำติดตัวมาด้วยขู่บังคับ ให้นายซื่อโอนที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ตนหนึ่งแปลง มิฉะนั้นจะฟันให้ตาย นายซื่อตอบตกลงเพราะความกลัว ในขณะที่นายแห้วเดินออกจากบ้าน นายกล้ามคนรับใช้ของนายซื่อจะเข้าจับกุมตัวนายแห้วเพื่อส่งเจ้าพนักงานตำรวจ นายแห้วจึงใช้อาวุธมีดฟันไปที่แขนของนายกล้ามเพื่อให้พ้นจากการจับกุม นายกล้ามเอี้ยวตัวหลบอาวุธมีดจึงถูกบริเวณด้านหลังเป็นแผลยาว ๑๐ นิ้ว มองเห็นได้ในระยะไกลหากนายกล้ามถอดเสื้อ

ให้วินิจฉัยว่า นายแห้วมีความผิดฐานใดหรือไม่

ข้อ ๗ ในปีภาษี ๒๕๕๒ นายสมชายเป็นพนักงานของบริษัทเสรี จำกัด ได้รับเงินเดือนรวม ๒๔๐,๐๐๐ บาท ในปีภาษีเดียวกัน นายสมชายจ้องการซื้อรถยนต์คันใหม่ จึงขายรถยนต์คันเก่าไปในราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้นายสมชายได้ลงทุนซื้อที่ดินเก็งกำไร ๑ แปลง ราคา ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท และขายไปในปีเดียวกันราคา ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท

ส่วนนางสมศรีเป็นภริยาของนายสมชายและอยู่ร่วมกันมาตลอด ในปีภาษีเดียวกัน นางสมศรีได้รับเงินค่านายหน้าจากการขายเก้าอี้นวดไฟฟ้ารวมเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

ให้วินิจฉัยว่า

๑.. นายสมชาย ต้องนำเงินเดือนที่ได้รับมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินค่าขายรถยนต์มาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และเงินค่าขายที่ดินมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือไม่

๒..นายสมชาย ต้องนำเงินค่านายหน้าของนางสมศรีไปรวมเป็นเงินได้ของตนเพื่อคำนวณเสียภาษีหรือไม่

เงินเดือน ๒๔๐,๐๐๐ บาท ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ม.๔๐ (๑) ประกอบมาตรา ๓๙
ขายรถเก่าเพื่อซื้อใหม่ ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะมิใช่ผู้ประกอบการ ตาม ม. ๗๗/๑ขายที่ดินเก็งกำไรต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา ๙๑/๒ (๖) ประกอบ พรฎ. ๓๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๔ (๖)(ค)

ประเด็นที่ ๒ นายสมชายฯ ต้องนำเงินได้ของภริยา มาตรา มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยยื่นแบบ ภงด. ๙๐ ภายในวันที่ ๓๑ มี.ค. ๕๓ ปรก. มาตรา ๔๐ (๒) และ ๕๗ ตรี

ข้อ ๘ นายจันทร์ เป็นลูกจ้างของบริษัทยางพารา จำกัด มาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2550 บริษัทยางพารา จำกัด ได้ประกาศจดทะเบียนควบรวมกิจการกับบริษัทยางหล่อดอก จำกัด โดยเปลี่ยนชื่อ เป็นบริษัทยางไทย จำกัด การควบรวมกิจการมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 25550 เป็นต้นไป บริษัทยางพารา จำกัด ได้ประกาศให้ลูกจ้างทราบว่าลูกจ้างคนใดที่ต้องการโอนไปทำงานกับบริษัทยางไทย จำกัด ต้องแสดงความจำนงภายในวันที่ 15 มีนาคม 2550 มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ประสงค์ทำงานเป็นลูกจ้างอีกต่อไป นายจันทร์ไม่ได้แสดงความจำนงโอนไปทำงานกับบริษัทยางไทย จำกัด ภายในระยะเวลาที่กำหนดเนื่องจากต้องการประกอบอาชีพส่วนตัว แต่ต่อมาเกิดเปลี่ยนใจกระทันหัน ฉะนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2550 นายจันทร์ได้ไปที่บริษัทยางไทย จำกัด เพื่อเข้าทำงาน บริษัทยางไทย จำกัด ปฎิเสธไม่ให้นายจันทร์เข้าทำงานโดยอ้างว่าไม่มีชื่อเป็นลูกจ้างของบริษัท

ให้วินิจฉัยว่า นายจันทร์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยบริษัทยางไทย จำกัด ได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๒๔๒-๗๒๕๔/๒๕๔๕
แพ่ง การโอนสิทธิของนายจ้างต้องให้ลูกจ้างยินยอมด้วย การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน (มาตรา ๕๗๗ , ๑๒๔๓)
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ (มาตรา ๑๓ , ๑๑๘ )
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๓ มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองลูกจ้างมิให้ต้องถูกออกจาก งานหรือถูกลิดรอนสิทธิและผลประโยชน์ใดที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการโอนกิจการ หรือการควบรวมกิจการของนายจ้างตามกฎหมาย การที่ธนาคารจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนควบรวมกิจการกับธนาคาร ซ. แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารจำเลยที่ ๒ ซึ่งการควบรวมกิจการดังกล่าวมิใช่การเลิกกิจการของจำเลยที่ ๑ เพียงแต่จำเลยที่ ๑ ต้องสิ้นสภาพไปโดยผลของการควบรวมกิจการกับนิติบุคคลอื่นเท่านั้น และเป็นผลให้จำเลยที่ ๒ ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของจำเลยที่ ๑ ทั้งสิ้น ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๔๓ และจำเลยที่ ๒ ยังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทุกประการอันเกี่ยวกับลูกจ้างของจำเลย ที่ ๑ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา ๑๓ และ ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๗ วรรคแรก ซึ่งผลของกฎหมายดังกล่าวลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ ย่อมต้องโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ ในทันทีโดยอัตโนมัติแม้จะไม่ได้แสดงเจตจำนงออกมาอย่างชัดแจ้งว่า ประสงค์จะโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ ก็ตาม เว้นแต่ลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ รายที่แสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าไม่ยินยอมโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที ๒ ในกรณีเช่นนี้จึงจะถือว่าจำเลยที่ ๑ ได้เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวเนื่องจากสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ ๑ ได้หมดสิ้นไป อันเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา ๑๑๘ วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสิบสามไม่แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ ๑ หรือจำเลยที่ ๒ ว่าไม่ประสงค์ที่จะโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ จึงต้องถือว่าโจทก์ทั้งสิบสามได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ แล้ว การที่จำเลยที่ ๑ ประกาศกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างจำเลยที่ ๑ ที่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ ๒ ต้องแสดงเจตจำนงตอบรับการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ ภายในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถูกเลิกจ้างนั้น เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อบทกฎหมายข้างต้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับ

ข้อ ๙ บริษัท เอบีซี จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องนายชื่น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องซึ่งอยู่ระหว่างสมัยประชุมสภานิติบัญญัติของรัฐสภา นายชื่นให้ทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า นายชื่นได้รับความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๑ วรรคสาม ขอเลื่อนคดีไปจนกว่าจะปิดสมัยประชุม ศาลชั้นต้านมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญบทมาตราที่อ้างให้ยกคำร้อง และเมื่อคดีเสร็จการไต่สวน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณา วันรุ่งขึ้นตอนเช้า นายชื่นไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ พิจารณาวินิจฉัยว่า การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและสั่งประทับฟ้องของนายชื่นในระหว่างสมัย ประชุมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อศาลรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๑ วรรคสาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๑ ที่จะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยได้ ให้ยกคำร้อง วันเดียวกันตอนบ่าย นายชื่นไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่า การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและสั่งประทับฟ้องของนายชื่อนในระหว่างสมัย ประชุม กับไม่ส่งข้อโต้แย้งของนายชื่นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๑ วรรคสาม และ ๒๑๑

ให้วินิจฉัยว่า การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและสั่งประทับฟ้องของนายชื่นระหว่างสมัย ประชุมกับไม่ส่งข้อโต้แย้งของนายชื่นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเป็น การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๑ วรรคสาม และมาตรา ๒๑๑ หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องของนายชื่นไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่

ข้อ ๑๐ ขณะที่นายแดงยืนเรียกรถแท๊กซี่อยู่บนตะแกรงเหล็กปิดปากบ่อท่อระบายน้ำทิ้ง ริมถนนสาธร แต่ตะแกรงเหล็กรับน้ำหนักนายแดงไม่ได้ ทำให้นายแดงและตะแกรงเหล็กตกลงไปในบ่อท่อระบายน้ำทิ้ง เป็นเหตุให้นายแดงขาหัก ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินทั้งสิ้น 50000 บาท นายแดงเห็นว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจาการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัด ทำบ่อที่ระบายน้ำทิ้งริมถนนสาธรซึ่งเป็นกิจการที่กฏหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจ หน้าที่ของกรุงเทพมหานครด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ได้จัดทำตะแกรงเหล็กปิดวางบนปากบ่อท่อระบายน้ำทิ้งให้มีขนาดพอดีกับ ปากบ่อ และไม่ได้ทำบ่อรองรับตะแกรงเหล็กให้มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักคน หรือสิ่งของได้อย่างปลอดภัย และประสงค์จะฟ้องเรียกค่าเสียหาย

ให้วินิจฉัยว่า นายแดงจะต้องฟ้องบุคคลใด และต่อศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐/๒๕๔๘ จำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อ ละเลยมิได้จัดทำตะแกรงเหล็กปิดวางบนปากบ่อให้มีขนาดพอดีกับปากบ่อ ทั้งมิได้จัดทำบ่ารองรับตะแกรงเหล็กให้มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับ น้ำหนักคนหรือสิ่งของได้อย่างปลอดภัย เมื่อโจทก์ไปยืนบนตะแกรงเหล็กดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อระบาย น้ำทิ้ง ตะแกรงเหล็กทับขาของโจทก์หักหลายท่อน ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากเหตุดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากการที่จำเลยละเลยต่อหน้าที่ ในการดำเนินกิจการทางปกครองหรือการบริการสาธารณะที่กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้อง ปฏิบัติและอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

สงกรานต์ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๖ มาถึงแล้ว

ปิดความเห็น บน สงกรานต์ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๖ มาถึงแล้ว

คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้หยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ 5 วันรวด ตั้งแต่วันที่ 12-16 เมษายน 2556
                เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้กำหนดวันหยุดราชการต่อเนื่อง 5 วัน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 12-16 เมษายน 2556
                ทั้งนี้ สาเหตุที่ให้หยุดวันศุกร์ที่ 12 เมษายน ด้วยนั้น เนื่องจากเห็นว่าวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันเสาร์ จึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้เตรียมตัวเดินทางกลับภูมิลำเนา และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดด้วย

วันสงกรานต์

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

แดดร้อนเปรี้ยงกลางเดือนเมษายนเช่นนี้ เชื่อเลยค่ะว่า หลาย ๆ คนคงกำลังตั้งหน้าตั้งตารอคอยเทศกาลแห่งความสุขอย่าง "เทศกาลสงกรานต์" อย่างแน่นอน เพราะนอกจากที่เราจะได้สาดน้ำคลายร้อนในวันหยุดยาว ๆ 3 วันกันแล้ว เทศกาลนี้ยังเป็นวันนัดพบของคนในครอบครัวที่อยู่ต่างถิ่นต่างแดน ให้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมกันด้วย อีกทั้งยังเป็นเทศกาลที่เปรียบเสมือนวันปีใหม่ไทย ให้ชาวไทยได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตตลอดทั้งปี

          วันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอหยิบยกนำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "วันสงกรานต์" มาให้เพื่อน ๆ ได้รับทราบกัน ไปดูกันซิว่า เทศกาลสงกรานต์ เริ่มขึ้นเมื่อไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง…

สำหรับคำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สํ-กรานต" ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่ เคลื่อนที่ โดยหมายความอีกนัยนึงว่า เป็นการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่นั่นเอง ส่วนเทศกาลสงกรานต์นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของคนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กันมากับประเพณีตรุษจีน จึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรุษสงกรานต์" ซึ่งหมายถึง ประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั่นเอง

          ทั้งนี้ วันหยุดสงกรานต์ เป็นวันหยุดราชการ แบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์, วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา, วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก ส่วนกิจกรรมหลัก ๆ ที่ทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะเป็นการทำความสะอาดบ้านเรือน การร่วมกันทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำของพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำคลายร้อนกัน เป็นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2529

ปิดความเห็น บน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2529

พนักงานอัยการจังหวัดยะลา   โจทก์

ห้างหุ้นส่วนจำกัดโกวิทเทรดดิ้งโดยนางชนกพร แซ่หลี หุ้นส่วนผู้จัดการ  ผู้ร้อง

ห้างหุ้นส่วนจำกัดโกวิทเทรดดิ้งโดยนางสาวรัตติยา แซ่เลี่ยง ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ   จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา 75

ป.วิ.อ. มาตรา 7, 165

ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง

พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510

          การฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงจะดำเนินคดีได้ ถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการไปต่างประเทศไม่อยู่ในขณะฟ้อง ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมาย และต้องถือว่าไม่มีตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้อง ศาลรับฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165

          ห้างจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. มีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ในกิจการเช่นสำรวจแร่ ทำเหมือง ฯลฯ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ พ.ศ.2514ดังนี้ ห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ ร.ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งการมอบอำนาจให้ร. เป็นเวลาภายหลังจากห้างจำเลยได้กระทำความผิดอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ร. ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจดังกล่าว การดำเนินคดีนี้ของ ร. จึงไม่ผูกพันห้างจำเลยและคำพิพากษาก็ไม่ผูกพันห้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้

                                ________________________________

           คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2525 โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2524 แร่ดีบุกขาดหายไปจากบัญชีแร่คงเหลือของจำเลยขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติแร่ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาปรับจำเลยคดีถึงที่สุด แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องโดยนางชนกพร หุ้นส่วนผู้จัดการไม่เคยถูกฟ้อง ผู้ร้องมอบอำนาจให้นางสาวรัตติยา ดำเนินการติดต่อขอใบอนุญาตออกแร่เท่านั้น และมอบอำนาจหลังจากเกิดเหตุ ผู้ร้องไม่ได้มอบอำนาจให้นางสาวรัตติยาดำเนินคดีแทน ผู้ร้องจึงไม่ต้องรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ร้อง ขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึด

          โจทก์คัดค้านว่า นางสาวรัตติยาทำงานให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโกวิทเทรดดิ้งมาก่อนเกิดเหตุ และได้รับมอบอำนาจจากห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว ย่อมเป็นคู่ความในฐานะจำเลย นางสาวรัตติยาตัวแทนผู้รับมอบอำนาจรับสารภาพ ศาลมีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุด คำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลย ขอให้ยกคำร้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องของผู้ร้อง

          ผู้ร้องอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ปล่อยทรัพย์พิพาท

          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด โกวิทเทรดดิ้ง มีนางชนกพรเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2525 พนักงานอัยการจังหวัดยะลาเป็นโจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด โกวิทเทรดดิ้ง โดยนางสาวรัตติยาเสมียนพนักงานของห้างดังกล่าวอ้างว่าเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของห้างดังกล่าวเป็นจำเลยขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติแร่ ทั้งนี้ เพราะนางชนกพรหุ้นส่วนผู้จัดการไปต่างประเทศ พนักงานสอบสวนเกรงว่าคดีจะขาดอายุความนางสาวรัตติพรแต่งทนายความสู้คดี โดยลงชื่อเป็นตัวแทนของห้างดังกล่าว ต่อมาให้การรับสารภาพศาลพิพากษาปรับ คดีถึงที่สุด และวินิจฉัยว่าการฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงจะดำเนินคดีได้ เพราะถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการไม่อยู่ในขณะฟ้อง ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมายและต้องถือว่าไม่มีตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้อง ศาลรับฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 165 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อขณะฟ้องนางชนกพรหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยไม่อยู่ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้างจำเลยเป็นคดีอาญาได้ หนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 14 มกราคม 2525 มีข้อความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโกวิทเทรดดิ้ง ตั้งให้นางสาวรัตติยามีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ในกิจการดังต่อไปนี้คือ สำรวจแร่ ทำเหมือง ซื้อแร่ ขายแร่ เก็บแร่ ชำระุค่าภาคหลวงแร่ มีแร่ไว้ในครอบครอง ขนแร่ แต่งแร่ ประกอบโลหกรรม นำแร่เข้าหรือส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร รับเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และเงินคงเหลือคืน และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ พ.ศ. 2514 ดังนี้ ตามหนังสือมอบอำนาจห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้นางสาวรัตติยาดำเนินคดีแทนจำเลย และทั้งเป็นการมอบให้ดำเนินกิจการติดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับกิจการค้าแร่แทนห้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2525 การกระทำความผิดของห้างจำเลยครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2524 ซึ่งเป็นวันก่อนห้างจำเลยมอบอำนาจให้นางสาวรัตติยา แม้ฟังได้ว่าห้างจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่นางสาวรัตติยาก็มิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วย เพราะได้รับมอบอำนาจหลังจากเหตุเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนนางสาวรัตติยาในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจของจำเลยแก่นางสาวรัตติยาตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.4 การดำเนินคดีนี้ของนางสาวรัตติยาจึงไม่ผูกพันห้างจำเลย คำพิพากษาคดีนี้หาผูกพันห้างจำเลยไม่ โจทก์ไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับคดีนี้ได้

          พิพากษายืน

( ดำริ ศุภพิโรจน์ – อำนวย อินทุภูติ – สมศักดิ์ เกิดลาภผล )

mp3 ล้มละลาย อาจารย์เอื้อน

ปิดความเห็น บน mp3 ล้มละลาย อาจารย์เอื้อน

ไฟล์: ล้มละลาย อ.เอื้อน-๓ ธ.ค.๕๒.mp3

ลิงก์: http://www.zidofile.com/wx8xuy

ไฟล์: 221ล้มละลาย อ.เอื้อนสอนแทน-๑๓ ม.ค.๕๓.mp3

ลิงก์: http://www.zidofile.com/1wpxxl

ไฟล์: 365ล้มละลาย อ.เอื้อน (ค่ำ) พฤหัสบดีที่ ๑๑ ก.พ.๕๓.mp3

ลิงก์: http://www.zidofile.com/BrhSvg

ไฟล์: 398ล้มละลาย อ.เอื้อน (ค่ำ) พฤหัสบดีที่ ๑๘ ก.พ.๕๓.mp3

ลิงก์: http://www.zidofile.com/VZDoOw

ไฟล์: 431ล้มละลาย อ.เอื้อน (ค่ำ) พฤหัสบดีที่ ๒๕ ก.พ.๕๓.mp3

ลิงก์: http://www.zidofile.com/LfAfPy

ไฟล์: 460ล้มละลาย อ.เอื้อน (ค่ำ) พฤหัสบดีที่ ๔ มี.ค.๕๓.mp3

ลิงก์: http://www.zidofile.com/sXKju8

ไฟล์: W16 ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อน 11 มี.ค.2553 ค่ำ (ปิด).mp3

ลิงก์: http://www.zidofile.com/TasR3E

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ปิดความเห็น บน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

                                                                     ภาค 1

                                                                   บททั่วไป

                                                                 ลักษณะ ๑

                                                             บาทวิเคราะห์ศัพท์
มาตรา ๑  ในประมวลกฎหมายนี้  ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

(๑) “ศาล” หมายความว่า  ศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษา ที่พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง

โหลดคำบรรยายเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 61 ภาคค่ำ สัปดาห์ที่ 1 – 16

ปิดความเห็น บน โหลดคำบรรยายเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 61 ภาคค่ำ สัปดาห์ที่ 1 – 16

วิแพ่ง ภาค 1 อ.ไพฤทธิ์  ปีล่าสุด
035_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W1_28-11-52_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?grdthkf5tykrpdo
090_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W3_12-12-52_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?058g059ecu56kof
126_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W4_19-12-52_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?l74zvqtdvgx1ryc
161_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W5_26-12-52_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?5m4d3xoakzqq2di
215_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W7_09-01-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?xyxy4l8wzlt0rw9
252_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W8_16-01-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?0pdk7tmyy3s3n67
287_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W9_23-01-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?lolbe1rtarmzl5a
323_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W10_30-01-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?bdin8a5y1auvoa4
359_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W11_06-02-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?59s0cva5nq8kqbb
394_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W12_13-02-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?hxb3mlcqspmuwt0
431_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W13_20-02-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?trobbqz2435bfa2
466_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W14_27-02-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?lkzdllb6i7lquil
498_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W15_06-03-53_ค่ำ
http://www.mediafire.com/?sbayzq6ga2na5ju
533_วิ.แพ่ง ภาค 1_อ.ไพฤทธิ์_W16_13-03-53_ค่ำ (ปิด)
http://www.mediafire.com/?w0gescu9urbkgai

วิแพ่ง 1 อ.ไพฤทธิ์

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9CC58BWYKSGO6YU6Z1BA2VQXP2

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9CC58C6CZD47UDC4NDZL9TZDO5

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9CC58C[68HR6EZPXIYADMAQAG9

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9CC58D[BIHUEAUK5XMYMA3YYGF

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A52120BCZBORKH23A[L1DFBRGP

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A52121RHW9TH2F8VBQ4TLP7WM3

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A521213RNP[FI9VI34JFBUAX1W

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123ADF500JJQ4TVBUNTYNGNYYYBRO

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123ADF5008EDXZ64M8OL6G6WLCNDP

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123ADF501JUHXNO7KCWBD9LHCWOPD

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123ADF501Y5P2SEW9NNEQEKF6Y2QX

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123AE02BC485BDR3ZQDT696S5ZCXT

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123AE02BDASBJM7OG1CFNTTETGUEK

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123AE02BDPVC7BSP8DVSTQ[VA22C1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123AE02BDFPXFKHYK[SLPPGR2GEVB

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123AE0778TOS3BMG9E1UT5ZXFK2ZE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123AE0778R2B89G2MKA7BSFKHRHFZ

วิแพ่ง ภาค 4 บังค้บคดี อ.ทวี

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7B8C4XDJZG4ZHUJH5FJPYANTU

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7B8C5PJW3F[47TAOSGVEQYPZH

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7B8C5FGLQHAHTMUTKFG5VSXBL

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B15C30IAE1362LF3G9RL3JVBUD

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B15C308MD1RHXIVM5HQ1344H[X

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B15C30S1AF1YVP2C2UPBA2TV3M

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B15C30TNCNM79LWMRZUDO[7VLK

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B16526X1SX56XTAZRE2YI1K92H

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B16526AY3D[I3NV66E36B4OQ6Y

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B16526MIFMK6YIZMRP95LEOAP1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B16527L[LD5QOS4BMA4UIUM7M1

วิแพ่ง 2 อ.ทองธาร ภาคค่ำ ส.61

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9C99667SU2F7[HARUNMPW4LFNH

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9C9966NVTVM1335XNQ6COE9M2R

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9C99664TJFG8K7B4P2BJ[1HDS9

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9C9967CR5W17PFNCKFP657GVIK

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9CA2F9G4CXUQ2ZX8LVGMEM51FK

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9CA2F9D6XA235A3YG7IIKDN7HW

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9CA2F9BIKE71P5TI[CU4MOAE[E

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9CA2F9IW21KJROI2FLZILRIR24

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B99BC1C[SJYTG[KH9U6AK2RVOJE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B99C04B5ZES5NNDZYNMFJLXJU7A

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B99C25B5YC665K25QHKNSSILGMA

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA211BE5JD48K8KK3YY[41QDKWB

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA211BECFH57ENV2KDQWJ1H4R15

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA211BEZKRZWXOYH46EDNHO4YGJ

w 13 ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA21549GFF3GJ86MZAF6FQK72OT

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA21800FRKIVYPNQ8ZYP7LFIAYT

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA21ACC[D7IUQ6AJBNRLBBYWSGD

วิแพ่ง 3 อ.นพพร

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A56EFBAQQH6M7W23OP1BR[8AFW

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A57006OMD8XNDTQT7OGH3OI7CU

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A57006TMYDER5W5IVSCGQ[DXL9

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A570061IE5RZEKQQEOYM1Q6L1O

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A57006VW3TQ7UHCULZO7VGW49F

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A79CB57F1QNTY[DKJMYJWUN2IA

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2624AJDF2HTQ5JUBKFTSFW9GQ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2624A6JJTX9XMMU7L[4UPKIGX

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2624A5NDT7QAS8G491IZ6S41N

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2624AJPY1S7659X71R7U49E5X

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA26AF53G9HJDLEBF1PY87O[87O

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA26AF5V23EXWDFCHY[VS[MN9BD

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA26AF5COIGFAMQPLGDF4TVBWZ4

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA26AF6Q9B8HHNFKHSBARMQSUK9

สัมนา วิแพ่ง อ. ศิริชัย

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A87E13GH9Q38MJP9J3E2PK45GC

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A87E13XL2NTY5BII5BUC81QQ2N

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A88903V6DSPEQ64FKZJ1NYUQ55

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A88903YJQJO9[JRMKQ6F8VWMQ9

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DE0724V[Z2XDPX4SCBTR81X[QC

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DE0724OZ66UNUOFU3OVUURFYI6

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DE0724GAD86DABGD3Z4XVHU25D

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DE0724QNV3GYZRUP8P4MHNT71X

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DEECCELTDPEEG58AM3ZBC9QXC8

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DEECCENE8S6DO3YP3Y53NJ7VUQ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=35CBC72D04[F2IF83WOBX8F2PULO5L

ล้มละลาย อ.ไกรสร

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9BBB64CHQD1[JLWV73U1ORIYLO

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9BBB646QI4SAO43BWCBPIKFRX2

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9BBB65UURDW3X3WAFCPW78J4EK

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9BBB65T[CO75ZWETWYDG85E1AF

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9C76ECCMYU55B5L5U79J7YOJ8X

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9C76EDWE[NATHY5JSF13OFONSY

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9C76ED83CLRM[KYO[KSSOT4O98

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377BA2AB6EHWKEERTCLRBJHJE5HLP

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377BA2AB6J98WIV35B93963OTR7[7

ฟื้นฟูกิจการ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377B9DEE52I2TQTCH2F7UCID1UYYU

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377B9DEE56DHH33[X8W[NM341SQIL

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377B9E54BLJJSSADFWP[2EKKMO9NB

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377B9E54B5V7YOSYHKIBB4GB6PEJS

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377B9E54BLNXSJACLT85O[[LZIWLU

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377B9E9EDIR2ZRB3AV5GTFG7HB276

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377B9E9ED5RAVKH7[XZM9GUCDD58I

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377B9E9EDL79QJSGOHT3SY39YX9HR

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377BA0651V5TXRWT9PND9UVEQXYJ2

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377BA0651DPYHFSQZLFRNECP7O1R1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377BA0651J[5J4Y5D717EPAC14U5B

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377BA0652I[LF5RL678QPNT8B7M[D

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377BA13BFS6N[FCJ585JU9K4QRAS[ (ให้ copy url)

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3377BA13BF8F38U4S2S1N6LL8UNA6A

พระธรรมนูญ ศาล

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B90199INPLA2FNGNXQRV6E2QY

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B9019IUTLAOHAG1P[RMTC3QTH

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B90197T6SPO9G15T11W1S[BKE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B901A67OXZ7CLR6WL23H6B9P3

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9BAA9DTUHE16D8FWBWCEXG6RXW

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9BAA9DTWM[PDA7825H2NXYEQ9L

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9BAA9DP88QSDFI8DDN1YHM6VOL

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B1325DGSKDOS8L3DBFVUGTT93Y

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B1325EVW71KWTWTR2GAUXM695J

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B1325EUO8STWU16H1V[I4ELPS4

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B13AEETZNOSDE[MR4UYJ14AP5B

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B13AEEUHRXM34B3R5HQKDFV497

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B13AEE[TO36NFSKL9TFQYW261D

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B13AEEDJ9RH5[VB4Q9YDTGL126

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B1537F5K6LBESDZSSQ58FVDQSE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B1537F8TKBGOPXMAD[[V6A95JP

วิแพ่ง 4 อ.สมพงษ์ (วิธีการชั่วคราว)

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7C30CJLGF6Q5B5TECR34NIA3F

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7C30CEFPTC6JQFJD7TW91TH1I

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A5A0CCSBBCC[QOD1ILWHLXP5ZO

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B17CE1KQ5D9Y42EHQ74JZCQCFP

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B17CE12UFPVXVA5GKNA65ZGB[R

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B17CE15DVS6CE2SY3QD77QRHYJ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B17CE2HR9G4CSZ[GWHE8L[8O5I

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B18459CHH4KZO879[7UH5YI4DB

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B1845A2L[7NVV93G2Z9SFGF68J

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3123B1845AP7P5NGGDU7I3AMTWP843

วิแพ่ง 2 อ.สุวัฒน์ ภาคค่ำ ส.61

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A56E68X[Q72A6528PGO2XKNS17

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A56E687[EYMJYW56Q33HOUYJOF

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A56E688E9DGVBAN2W8MG9659F1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A56E69T8JWZDJARC39HD877QKM

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A56EFA[EG5KG6O1U57I4YRPQIW

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A56EFAZCYCMDFHO4QCEJ[8TL[I

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A56EFA6W6[KH5DSMW762BDIY1Q

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA21E3D[6XFX717FCQDOXK9WSL3

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA220B7ZXDA2ZA9I3RFFR54KQPF

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2383E3VV9C9HZIVIA[O19JHQ7

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2383FKLVB5RIJBIGNST8IPCIW

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2383FHLCE3NY3WI5KPVLIAMH3

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2383FN3SXVMFPPO9W73QE8SSI

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA23F8BVJCTUKJBCIJ9YCYVYT7E

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA23F8BZDHGMG89JKKTLZDFX82B

สัมนา วิแพ่ง อ.สมชัย ภาคค่ำ สมัย 61 ค่ะ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A8A1B6AT5JRSAO74ERG4OP3AJ7

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA245B78B21FSIBKUQGVOMLLUV[

*** (ไฟล์ไหน ลิงค์ไม่ได้ ต้อง copy url ไปวางที่ address bar นะคะ )

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A8A1B6EN1HU[[TUQP45TFJMSPX

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA245B7KML5HVXNP2Y698VIACS1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A8A1B6C3AUT3OAMZ1KLUXZ92AZ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA245B7[6M8[1LT34F9P5[4BR8B

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA24825XEWDV1E2L3B5F[GZR5V2

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A8A1B6Q7MFTNZI3E2H8CKBE11F

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDDD08HM2[TGACZ7225MUX66NI

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDDD08QF2CG4B41E2RD8T5WOK8

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDDD09UFV17JFLBEYG4R22826W

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDDD09OIJHV768V9A11VK2WE[6

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDE736DNIC5Q5FMUS6QU62RRIY

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDE736MC7MOQGL6DX7NMXKZC4B

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDE736XQD4ZYIH4RN9YMVQ57NS

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDE736XEEKQ1L1N5K86HYQ7ASB

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDFEF3WKTA96H2NPF6C8[FPHDS

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDFEF32A4WAE1IELIDABHHP52J

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DDFEF39WZ5L635ULP[[RSOOBGZ

วิอาญา 1 -2 อ.ดรุณ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A5A0CD49RWBHIPTB9S7AIVWS[5

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A5A0CD99YAQCWOM636FYVWW4PN

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A5A0CDBTY2CMNXH7LVND51JAHA

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A5959E92[IPK6D4MSOOO27FN1Y

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A5959FF7RVM5DH6E3G9WBXQLQ1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A5959FUI3919TYUN5J9HQ89HON

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA27396OWNFKOZPRL6JZTQ1THHK

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA2739613V3PGEB[PPQEKJVZ93J

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA273966Y46QJGJPKQEV6RXZAH3

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA27396PPVN5USEU6UH6FY2KPGE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA28A86DATMX7ZWDKZV691[V3VL

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA28A86TVNA8Q2[1C8SGSJ[LJA8

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA28A866YHXWWBJ6AC4JZ83Z45R

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA28A86PU3IL[DQF9HF24I4G3GA

วิอาญา อ. อรรถพล

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7DBA8[GWLZXA3ZQNT4TWXNQSR

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7DBA8U2PEHNF2JIVNI2PE31O6

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7DBA8XCX2SGF2J5Q[XVTQA3HI

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7DBA8XCX2SGF2J5Q[XVTQA3HI

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7E372XFD49PWYY9[TSTHG1NUL

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A7E372HJ55BATIHE7Z2P7PGOLS

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA5982DEKTSP[ELFRSLMUSJ[RRP

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA5982E456IABB1P9S2FCSTHMW4

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA5982ETPAI8ROJO7R7PG8F2HCB

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA5982EUZBFMBIKBP7R2E38[OIE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA59CD3FS3[D7TTSU6RYDIB4PSY

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA59CD3KSYMDOD4L3H9181JKEQY

วิอาญา 3 – 4 อ.อำนาจ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A805DCDYYNK2Y1L3AU5YV[44U4

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A805DDX2TDF1I2IJZIH585F3AQ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A805DDVPP13QURF7EQNLBWC177

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A805DEXZW8HAC15T56R1BEST8T

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A83523U6E4ZCFJP658JHHL5A9U

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A835232PMC2BUG7BDE[WDQAJWV

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2561A83523TR33NHBQQCB5AH6OANRZ

วิอาญา อ.ธานี

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=35CBC950BCGBKESR4R7ZC8L9CV7OPT

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=35CBC950BC5[27TCVVLP9ZRT6C65TD

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=35CBC950BC3UEZZH5474ZCPUMRNTF4

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=35CBC950BC3[VI[VUGOGF1BBB1BJ7Z

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1A1DDB9PZFFUDJF4MTBC82NG2

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1A1DDOBQT9DFU62UWYKTOEOYA

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1A1DD9UT9VWK38X8U3X6JZNWE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1A1DDUNDMBOQCMFL3Y7B59XGL

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1A60CSD[FM8L3D3TONA4Q[QP5

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1A60CXZQVGXI59DGVFVNOPQJ7

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1ADF3YY58F43FXNSLPHZOAPHB

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1ADF44THIBLRVHHBWQFG[W1EJ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1ADF4OUWOS4SWWLGZITU5BENT

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1ADF497A5YIOCPL8WPT[TFKEF

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1B1E13OA65UAGAOR7R4NBNIO2

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381FD1B1E1VB[J8795N3HB9GNH3RDT

พยาน พรเพชร

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B61225M92V9I3UC5CLQ99MJ3S

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B6122R314IKI6P98PQ1DJ4OPH

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B6123F6XUU6DLNAV2H9NMU[E6

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B827FNDYHUWWCU[F1[ENYA7MZ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B827FEIMIEJOFYZCB91UT9ZO7

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=230D9B827FI7NFOMZ4MZTNKLKTBJ6Z

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DADD8ML9XB65HH43Z5966ES8Y

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DB52FT3D5J6HQWQ4WEXW8LRO1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DB8A7YDTGDNO5JLM8DUJRS3OL

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DCA69BX5F68BTDUQS6BS97VK3

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DD033R56W61[F1ENPN3[QI24L

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DD033FJXMJ[L3X45[WJ75P1BA

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DD20AR57GVTNRUQL1S8GMKY7X

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DD33EUDP[JA85BI72CRR4R6SU

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A278DDE50LSNUBADCDNTI3V5OZEJ7

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B962D0A[R41L1[MG9CW8HELD2YF

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B962D0BJLC5WUOVEN49HKYTHDZK

สัมมนา วิอาญา อ.กุมพล

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B26716Y888LZME8DDKA5EV7H6F

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B267173NR9ZRV9VFZHZ[RVXZ3E

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B26717VFDEF2VELNDQHLGFSN66

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B26718GK5SJ8ZQ8FNIPWUGC5OM

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B2ABD5V4T1DYZGN5ETM36Z194G

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B2ABD5V4T1DYZGN5ETM36Z194G

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B2ABD5D8XCY9G7RGO19ECPFZ9U

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B2ABD6MVV1J6TA5EWDKM8PZ85E

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B96555FA1J26SSYDBGVY69UBNAE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA57E6E2FQWW3O9OUZIHMJUHVJI

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B965DE0TU5WVGEXPSTJV1LVD1KX

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B96622DW3II[TIJJIVGGSO4OMID

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B966667JNGNV[4TZU6QEF7T5R[W

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B967A169LVCMBEBUXGS3X5W9GH7

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2ECFA57E6E2FQWW3O9OUZIHMJUHVJI http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=337DB34755NMVZ9KM63NNLDSV835XH

ว่าความ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DEF5BCT7WX2AIVT91N7F47HNKV

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DEF5BD8P9HF4SXOGM3OCP3DXA4

การร่างสัญญา

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DEF5BC6EW[1ES65J62L2M[57KA

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=3A73DEF5BC7WB[2OIA64N2RGJXXFS9

สิทธิมนุษยชน อ.สบโชค

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B2E800SMCLPMEBNFYT94X2JMGN

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B2E8008M24[81ZDZC7TMVJSEYF

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B2E800SI9YU2N7F2PVU[86ZCPA

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B2E800MMCALQPZ5S2NUH98MWBS

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B306D7B8QASQE1W[GR81FY8K92

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B306D7NLWZHUGN9IHTEEAX6EBE

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B306D7HNKG25AUTIQI7BAT89OF

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=27B5B306D7BI6WMCBDL5G288YQ5EIU

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B96308AJRMSJTI8S65SFGJEAMT1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B963473FZ151F9IKSM6I78HND8R

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B9636DBV7BIZJTVRMW6A1RT866[

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B963918SOUKFWK7VVQJZ2LF7OB1

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B963B1DC9KMMNHAQQRWLKA9TTQ6

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C7B963D284AU19OPQW5X8CAV5[TUY

Older Entries